หลายๆคนคงพอทราบถึงประโยชน์ของวิตามินบีที่มีต่อร่างกายอยู่บ้างแล้ว แต่คุณรู้หรือไม่ว่าวิตามินชนิดนี้มีความพิเศษและมีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของร่างกายมากกว่าที่คุณทราบ
วิตามินบีเป็นหนึ่งในวิตามินจำเป็นต่อร่างกาย หากเราได้รับไม่เพียงพอ อาจส่งผลให้เกิดโรคต่างๆเช่น โรคเหน็บชาได้
นอกจากนี้ วิตามินบียังมีความสำคัญต่อระบบการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย หรือที่เรียกกันว่าการเมตาบอลิซึม (Metabolism) ซึ่งหมายถึง กระบวนการทางเคมีที่ช่วยให้ร่างกายสามารถทำงานหรือรักษาภาวะต่าง ๆ ภายในร่างกายให้คงที่และเป็นปกติ เช่นการย่อยอาหาร เพื่อนำเอาพลังงานไปใช้ทำกิจกรรมต่างๆ การเสริมสร้างและซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
วิตามินบีจัดเป็นกลุ่มของวิตามินที่ละลายในน้ำได้ หลายคนเรียกว่า บีรวม หรือ บีคอมเพล็กซ์ (Vitamin B Complex)
เราสามาถแบ่งวิตามินบีออกได้เป็น 10 ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดล้วนมีประโยชน์ต่อร่างกายในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป คือ บี 1, บี 2, บี 3, บี 5, บี 6, บี 7, บี 9, บี 12, บี 15, และบี 17
หน้าที่ของวิตามินบี
ทำไมเราถึงต้องการวิตามินบี ?
วิตามินบีมีบทบาทสำคัญมากในร่างกาย การขาดวิตามินชนิดนี้อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพได้ เช่น โรคโลหิตจาง ปัญหาเส้นประสาท และระบบภูมิคุ้มกัน ที่นี้เราจะรู้ได้อย่างไรว่าจะเลือกเสริมบีชนิดใด เพื่อช่วยให้เราเข้าใจถึงประโยชน์ของวิตามินแต่ละชนิด Drugeatery เราได้รวบรวมข้อมูลของวิตามินบีทั้ง 10 ชนิดไว้ที่นี่แล้ว
วิตามินบี 1 (Vitamin B1)
ไทอามีน (Thiamine)
มีบทบาทสำคัญในร่างกายในการเป็นโคเอนไซม์ (Co-enzyme) ที่จะช่วยให้ร่างกายของเราเปลี่ยนสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ที่พบในข้าว ขนมปัง และธัญพืช ให้เป็นพลังงาน นอกจากนี้ยังจำเป็นสำหรับสมองและระบบประสาท ระบบย่อยอาหาร เซลล์กล้ามเนื้อ และเซลล์เม็ดเลือดแดง ช่วยให้พลังงานแก่หัวใจและกล้ามเนื้อ ช่วยให้ร่างกายจัดการกับความเครียด และช่วยในการเจริญเติบโตและซ่อมแซมเนื้อเยื่อต่างๆอีกด้วย
วิตามินบี 2 (Vitamin B2)
ไรโบฟลาวิน (Riboflavin)
มีบทบาทในการเผาผลาญไขมัน คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน พร้อมกับช่วยบำรุงเซลล์เม็ดเลือดแดงและเนื้อเยื่อให้แข็งแรง นอกจากนี้ บี 2 มักใช้ในการรักษาปัญหาสภาพผิวต่างๆด้วย เช่นสิวและผิวหนังอักเสบ และยังช่วยในอาการของเยื่อบุตาอักเสบได้
วิตามินบี 3 (Vitamin B3)
ไนอาซิน (Niacin)
เป็นหนึ่งในสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายเช่นเดียวกัน โดยใช้ในการรักษาโรคเหน็บชาเพลลากรา (pellagra) ดูเพิ่มเติ่มเกี่ยวกับโรคเหน็บชาเพลลากรา (pellagra) นอกจากนี้บี 3 ยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดเพื่อลดความดันโลหิต และลดความเสี่ยงของโรคหัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้อีกด้วย
วิตามินบี 5 (Vitamin B5)
กรดแพนโทธีนิก (Pantothenic Acid)
มีบทบาทในการเผาผลาญไขมัน คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน พร้อมกับช่วยบำรุงเซลล์เม็ดเลือดแดงและเนื้อเยื่อให้แข็งแรง นอกจากนี้ บี 2 มักใช้ในการรักษาปัญหาสภาพผิวต่างๆด้วย เช่นสิวและผิวหนังอักเสบ และยังช่วยในอาการของเยื่อบุตาอักเสบได้
วิตามินบี 6 (Vitamin B6)
มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเผาผลาญโปรตีน และช่วยสร้างเซลล์ใหม่ให้กับร่างกาย ผู้ที่ขาดบี 6 จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเหน็บชา โรคซึมเศร้าและโรคหัวใจได้
วิตามินบี 7 (Vitamin B7)
ไบโอติน (Biotin)
เป็นวิตามินที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพผม ผิวหนัง และเล็บ นอกจากนี้บี 7 ยังมีส่วนสำคัญในการช่วยให้ร่างกายเปลี่ยนอาหารเป็นพลังงานด้วย
วิตามินบี 9 (Vitamin B9)
จริงๆแล้ววิตามินบี 9 มีอยู่ 3 รูปแบบ ได้แก่ โฟเลต (Folate) กรดโฟลิก (Folic acid) และกรดโฟลินิก (Folinic acid) โดยวิตามินทั้งสามรูปแบบนี้มีจุดประสงค์ที่แตกต่างกันเล็กน้อย โฟเลตมักพบได้ตามธรรมชาติในอาหารหลายชนิด ในขณะที่กรดโฟลิกและกรดโฟลินิกเป็นรูปแบบสังเคราะห์ที่ใช้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและอาหารเสริมต่างๆ
วิตามินบี 9 เป็นวิตามินที่ได้รับการแนะนำให้ใช้ในคุณแม่ตั้งครรภ์ โดยโฟเลตมีงานวิจัยว่าสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดข้อบกพร่องของท่อประสาทในทารกแรกเกิดได้ นอกจากนี้ยังช่วยให้เซลล์ในร่างกายแบ่งตัวได้อย่างเหมาะสม และเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน
วิตามินบี 12 (Vitamin B12)
โคบาลามิน (Cobalamin)
เป็นวิตามินที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพผม ผิวหนัง และเล็บ นอกจากนี้บี 7 ยังมีส่วนสำคัญในการช่วยให้ร่างกายเปลี่ยนอาหารเป็นพลังงานด้วย
วิตามินบี 15 (Vitamin B15)
กรดแพงกามิค (Pangamic acid)
ปัจจุบันยังมีข้อมูลเกี่ยวกับวิตามินบี 15 ไม่มากนัก พบว่าวิตามินชนิดนี้มีหน้าที่คล้ายกับวิตามินอี (Vitamin E) ในการสร้างสารต้านอนุมูนอิสระ
วิตามินบี 17 (Vitamin B17)
อะมิกดาลิน (Amygdalin)
แม้ว่ามีงานวิจัยหลายแหล่งจะอ้างว่าบี 17 สามารถใช้รักษามะเร็งได้ แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานที่แน่นอนทางวิทยาศาสตร์มากนัก
ปริมาณของวิตามินบีที่ร่างกายต้องการต่อวัน
วิตามินบี ถึงจะมีจำเป็นต่อร่างกาย แต่เราก็ควรรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ โดยมีคำแนะนำการรับประทานวิตามินบีแต่ละชนิดต่อวัน
ปริมาณ Vitamin B
ที่แนะนำต่อวัน
Vitamin B1
เพศชายต้องการในปริมาณ 1.2 มิลลิกรัม และเพศหญิงต้องการ 1.1 มิลลิกรัม
Vitamin B2
เพศชายต้องการในปริมาณ 1.3 มิลลิกรัม และเพศหญิงต้องการ 1.1 มิลลิกรัม
Vitamin B3
เพศชายต้องการในปริมาณ 16 มิลลิกรัม และเพศหญิงต้องการ 14 มิลลิกรัม
Vitamin B5
ทั้งเพศชายและเพศหญิง ต้องการในปริมาณ 5 มิลลิกรัม
Vitamin B6
ทั้งเพศชายและเพศหญิง ต้องการในปริมาณ 1.3 มิลลิกรัม แต่ในผู้สูงอายุ หรืออายุมากกว่า 50 ปี จะมีความต้องการมากขึ้น โดยเพศชาย ต้องการในปริมาณ 1.7 มิลลิกรัม และเพศหญิงต้องการ 1.5 มิลลิกรัม
Vitamin B7
ทั้งเพศชายและเพศหญิง ต้องการในปริมาณ 30 ไมโครกรัม
Vitamin B9
ทั้งเพศชายและเพศหญิง ต้องการในปริมาณ 180 - 200 ไมโครกรัม
Vitamin B12
ทั้งเพศชายและเพศหญิง ต้องการในปริมาณ 2.4 ไมโครกรัม
สัญญาณเตือนเมื่อร่างกายขาดวิตามินบี
เชื่อว่า อ่านมาถึงจุดนี้หลายคนเริ่มสงสัยแล้วว่า เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าเราได้รับวิตามินอย่างเพียงพอหรือไม่ มาดูกันค่ะว่าอาการอะไรที่บ่งบอกถึงว่าคุณกำลังขาดวิตามินอยู่
Vitamin B1 (Thiamine)
ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการเผาผลาญพลังงาน ถ้าขาดวิตามินนี้จะเกิดโรคเหน็บชา หรือเกิดโรคเบอริเบอริ (beriberi) ซึ่งมี 2 แบบคือ แบบชาร่วมกับมีอาการบวมที่ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง และแบบไม่มีอาการบวม โดยแบบที่มีอาการบวมจะมีอันตรายมากกว่า เพราะมีการคั่งของน้ำในร่างกาย เช่น ที่ปอด ในช่องท้อง ทำให้หายใจหอบเหนื่อย เกิดหัวใจโต หัวใจวาย เสียชีวิตได้
Vitamin B2 (Riboflavin)
เกี่ยวข้องกับการสร้างเส้นผม เล็บ และผิวหนัง และเกี่ยวข้องกับการช่วยลดความรุนแรงอาการปวดหัวไมเกรนได้ โดยถ้าร่างกายขาดบี 2 อาจทำให้เกิดปากนกกระจอก (angular stomatitis) โดยผิวหนังที่มุมปากจะแดงและแตก เจ็บคอ ลิ้นมีสีแดงม่วง รวมถึงอาจเกิดการอักเสบของผิวหนังได้
Vitamin B3 (Niacin)
เป็นโคเอนไซม์ที่สำคัญในกระบวนการเผาผลาญพลังงาน ช่วยควบคุมระดับน้ำตาล การขาดบี 3 เป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดโรคเพลลากรา (Pellagra) ได้
Vitamin B5 (Pantothenic Acid)
มีผลต่อการเจริญเติบโต และผลิตสารภูมิคุ้มกัน การขาดบี 5 จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดช่องท้อง มือเท้าชา นอนไม่หลับ เหนื่อยล้า
Vitamin B6
ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง รวมทั้งช่วยในการทำงานของระบบทางเดินอาหาร บำรุงผิวหนังและระบบประสาท
เมื่อร่างกายขาดบี 6 อาจจะมีอาการคันตามผิวหนัง ผิวหนังอักเสบลอก ปวดตามมือตามเท้า ลิ้นอักเสบ โลหิตจาง รวมไปถึงภาวะนอนไม่หลับด้วย
Vitamin B7 (Biotin)
เกี่ยวข้องกับกระบวนการเผาผลาญไขมันและกรดอะมิโน รวมถึงการบำรุงผิวหนัง เส้นผม ถ้าร่างกายขาดบี 7 อาจจะมีอาการซึมเศร้า ประสาทหลอน ชา และผมร่วง ได้
Vitamin B9
มีความสำคัญต่อกระบวนการแบ่งเซลล์ การเสริมบี 9 จึงช่วยป้องกันความผิดปกติแต่กำเนิดในเด็กทารกได้ นอกจากนี้ยังช่วยการสร้างเม็ดเลือดแดง ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงลดความเสี่ยงต่อมะเร็งด้วย
แหล่งอาหารที่อุดมด้วยวิตามินบี
เชื่อว่า อ่านมาถึงจุดนี้หลายคนเริ่มสงสัยแล้วว่า เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าเราได้รับวิตามินอย่างเพียงพอหรือไม่ มาดูกันค่ะว่าอาการอะไรที่บ่งบอกถึงว่าคุณกำลังขาดวิตามินอยู่
Vitamin B1 (Thiamine)
แหล่งอาหารที่พบ ได้แก่ ผัก โฮลวีต ถั่วเหลือง ข้าวโอ๊ต ถั่วลิสง รำข้าว เปลือกข้าว เมล็ดที่ไม่ผ่านการขัดสี บริเวอร์ยีสต์ นม ไข่แดง ปลา เนื้อออร์แกนิก เนื้อหมูไม่ติดมัน
Vitamin B2 (Riboflavin)
แหล่งอาหารที่พบ ได้แก่ ไข่ นม ถั่ว โยเกิร์ต ชีส ผักใบเขียว ปลา ตับ ไต
Vitamin B3 (Niacin)
แหล่งอาหารที่พบ ได้แก่ ไข่ ปลา เนื้อไม่ติดมัน เนื้อขาวจากพวกสัตว์ปีก ตับ โฮลวีต จมูกข้าวสาลี ถั่วลิสง อะโวคาโด อินทผลัม ลูกพรุน มะเดื่อฝรั่ง บริเวอร์ยีสต์
Vitamin B5 (Pantothenic Acid)
แหล่งอาหารที่พบ ได้แก่ เนื้อสัตว์ ไก่ ตับ ไต หัวใจ ธัญพืชไม่ขัดสี รำข้าว จมูกข้าวสาลี ถั่ว ผักสีเขียว กากน้ำตาลไม่บริสุทธิ์ บริเวอร์ยีสต์
Vitamin B6
แหล่งอาหารที่พบ ได้แก่ บริเวอร์ยีสต์ รำข้าว จมูกข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสี ถั่วลิสง ถั่วเหลือง วอลนัต กะหล่ำปลี กากน้ำตาล แคนตาลูป ไข่ ตับ ปลา
Vitamin B7 (Biotin)
แหล่งอาหารที่พบ ได้แก่ ตับวัว ไข่แดง นม แป้งถั่วเหลือง เนย ถั่วลิสง บริเวอร์ยีสต์ ข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสี
Vitamin B9
แหล่งอาหารที่พบ ได้แก่ ไข่แดง ตับ ผักใบเขียวเข้ม แคร์รอต แคนตาลูป ฟักทอง เอพริคอต อะโวคาโด อาร์ทิโชก ถั่ว แป้งไรย์แบบสีเข้มที่ไม่ผ่านการขัดสี ทอร์ทูลายีสต์
Vitamin B12
แหล่งอาหารที่พบ ได้แก่ เนื้อสัตว์เป็นหลัก ตับ ไต นม ไข่แดง ชีส ปลา เนื้อหมู เนื้อวัว อาหารหมักดอง
Vitamin B15
แหล่งอาหารที่พบ ได้แก่ ข้าวกล้อง เมล็ดฟักทอง เมล็ดงา เมล็ดธัญพืชไม่ขัดสี บริเวอร์ยีสต์
Vitamin B17
แหล่งอาหารที่พบ ได้แก่ เมล็ดพืชโดยเฉพาะเมล็ดเอพริคอต และยังมีเมล็ดอื่น ๆ อีก เช่น เมล็ดแตงโม เมล็ดพลับ เมล็ดถั่วอัลมอนด์ เมล็ดทานตะวัน ข้าว ถั่ว รวมไปถึงถั่วแมคาเดเมีย
การเลือกผลิตภัณฑ์เสริมวิตามินบีให้กับร่างกาย
เนื่องจากปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารวิตามินบีแบบรับประทานหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบวิตามินเดี่ยวๆ และแบบสูตรผสม การจะเลือกวิตามินบี ยี่ห้อไหนดี ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงอย่างแรกก็คือ ร่างกาย และรูปแบบการใช้ชีวิตของตัวเราเอง ว่าเรามีความเสี่ยงต่อการขาดวิตามินชนิดใดได้บ้าง หรือเรามีความจำเป็นต้องใช้วิตามินบีชนิดใดมากกว่าปกติหรือไม่ นั่นเอง
การรับประทานวิตามิน แน่นอนควรรับประทานเพื่อเสริมในปริมาณที่เหมาะสมตามชนิดของวิตามิน ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น เนื่องจาก วิตามินบีแต่ละชนิดมีปริมาณสูงสุดที่ควรได้รับแตกต่างกันออกไป
ข้อจำกัดสำหรับการเสริมวิตามินบี
มีการศึกษาพบว่าการเสริมบี 6 ที่มากเกินไปอาจทำให้เพิ่มความเสี่ยงของความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ เนื่องจากร่างกายของเรานั้นมีขีดจำกัดที่สามารถรับได้ของบี 6 อยู่ ดังนั้นหากเรารับประทานเกินความจำเป็น อาจทำให้เกิดการอักเสบและทำลายหลอดเลือดได้
การรับประทานบี 3 ในปริมาณที่มากเกินไป ก็อาจทำให้เกิดปฏิกิริยาทางผิวหนัง ได้แก่ ผื่นแดงคัน แสบร้อน หรือผลข้างเคียงอื่น ๆ ได้แก่ ปวดศีรษะ ปวดท้อง และคลื่นไส้ได้
วิตามินบี กับคำถามน่ารู้
วิตามินบี คอมเพล็กซ์ หรือ วิตามินบีรวม สามารถทานได้นานแค่ไหนกันนะ
เราสามารถทานได้ต่อเนื่องในทุกๆวัน โดยไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่อย่างไรก็ตาม การจะตัดสินใจเลือกรับประทานวิตามินยี่ห้อใด เราควรจะต้องพิจารณาถึงปริมาณที่เหมาะสมสำหรับแต่ละคนด้วย ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเลือกรับประทานจะดีที่สุดนะคะ
วิตามินบี คอมเพล็กซ์ หรือ วิตามินบีรวม ช่วยเพิ่มความอยากอาหารได้อย่างไร
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับภาวะเบื่ออาหารกันก่อนว่ามันคืออะไร และมีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง
ภาวะเบื่ออาหาร หรือที่เรียกว่า Anorexia เป็นอาการของร่างกายที่มีความรู้สึกในการอยากรับประทานอาหารลดลง ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นเป็นหลายวันจนไปถึงหลายเดือน จะส่งผลให้ผอมลงหรือน้ำหนักลดได้ ซึ่งภาวะการเบื่ออาหารอาจเกิดจากสาเหตุต่างๆ เช่น มีการติดเชื้อ มีโรคเรื่อรังต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคไต หรืออาจเป็นปัญหาจากความเครียด ความกังวล หรือภาวะซึมเศร้า นอกจากนี้อาจเกิดจากผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิดก็ได้
ดังนั้น วิตามินบีรวม ที่ประกอบไปด้วยบีหลากหลายชนิด จึงเข้ามามีส่วนช่วยเพิ่มความอยากอาหารได้ โดยวิตามินบีรวมจะช่วยเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน เพื่อให้เป็นพลังงาน ส่งผลให้ผู้ที่รับประทานจะมีอาการหิวบ่อยขึ้น
ขนาดที่แนะนำให้รับประทานในแต่ละวัน ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์ หรือเภสัชกร ที่จะสั่งจ่ายยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย โดยสามารถรับประทานได้ทั้งก่อน หลังหรือพร้อมอาหาร
วิตามินบี ช่วยเพิ่มความรู้สึกการอยากอาหารได้
วิตามินบี สำหรับคุณแม่ ตั้งครรภ์
สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ Vitamin B6 และ Vitamin B9
Vitamin B6 มีประโยชน์อย่างมากในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ โดยมีงานวิจัยว่า Vitamin B6 สามารถช่วยลดอาการคลื่นไส้ จึงช่วยลดอาการแพ้ท้องในคุณแม่ได้นั่นเอง
Vitamin B9 เราคงคุ้นเคยกันดีในชื่อของกรดโฟลิก (Folic acid) ซึ่งการเสริมโฟเลต (Folate) สามารถลดความเสี่ยงของทารกพิการแต่กำเนิดได้ โดยการเสริมโฟลิก แนะนำให้เสริมวันละ 400 ไมโครกรัม ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ จะดีที่สุด
เสริมวิตามินบี ในคุณแม่ตั้งครรภ์ ช่วยลดอาการแพ้ท้องและป้องกันการพิการของทารกได้
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิตามินบี
วิตามินบี (Vitamin B) เป็นสารอาหารหลักที่ช่วยบำรุงร่างกายและระบบประสาทของเรา เราสามารถรับวิตามินบีเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายๆจากการรับประทานอาหารเป็นหลัก แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้หลายคนได้รับวิตามินบีไม่เพียงพอ ดังนั้นมาเรียนรู้กันว่าอาหารแบบใดบ้างที่มีวิตามินบี และอาหารนั้นต้องรับประทานในปริมาณที่มากน้อยแค่ไหน
วิตามินบีรวม กินตอนไหนก็ได้ แต่อย่างไรก็ตามการเลือกเสริมวิตามินบีรวมพร้อม หรือหลังมื้ออาหาร จะช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมวิตามินบีรวมได้ดีที่สุด มาเจาะลึกข้อมูล 8 ข้อน่ารู้ของวิตามินบี รวมถึงเคล็ด (ไม่ลับ) ในการรับประทานวิตามินบีได้ที่นี่