โปรไบโอติก คือ จุลินทรีย์ที่มีชีวิต ซึ่งมีวัตถุประสงค์การใช้เพื่อให้มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย ในปัจจุบันนี้ โปรไบโอติก ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ อันเป็นผลมาจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มีมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหลาย 10 ปีมานี้ ซึ่งชี้ให้เห็นถึงผลที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพต่อร่างกาย จึงนำมาประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทั้งในรูปแบบยาและอาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม ส่วนในอาหารตามธรรมชาติ สามารถพบได้ เช่น ในโยเกิร์ตและอาหารหมักดองอื่นๆ

          แม้ว่าโปรไบโอติก คือ แบคทีเรียและจุลินทรีย์อื่น ๆ หลายคนเข้าใจว่าเป็น “เชื้อโรค” ซึ่งเป็นสิ่งที่อันตรายต่อร่างกาย แต่จริงๆ แล้วมีประโยชน์มากมาย จุลินทรีย์บางชนิด เช่นกลุ่ม Lactobacillus และ Bifidobacterium หรือโปรไบโอติกยีสต์ Saccharomyces boulardii สามารถช่วยย่อยอาหาร ทำลายเซลล์ที่ก่อให้เกิดโรค หรือผลิตวิตามินได้ จุลินทรีย์หลายชนิดในผลิตภัณฑ์โปรไบโอติกมีความเหมือนหรือคล้ายกับจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในร่างกายของเราตามธรรมชาติ ดังนั้นโปรไบโอติก คือ หนึ่งตัวช่วยรักษาโรคต่างๆได้โดยไม่ก่อให้เกิดอันตราย

 
Probiotics หลายสายพันธุ์

โปรไบโอติก คือ แบคทีเรียและจุลินทรีย์อื่น ๆ หลากหลายสายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์ให้ประโยชน์แตกต่างกันไป

 

          ประโยชน์ของการใช้โปรไบโอติก คืออะไร มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์จำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ชี้ให้เห็นว่าการรับประทาน Probiotic คือสิ่งที่สามารถรักษาและป้องกันโรคบางอย่างได้

          ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคทางเดินอาหารแนะนำผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโปรไบโอติกสำหรับรักษาโรคทางระบบทางเดินอาหาร เช่น อาการลำไส้แปรปรวน การศึกษาทางคลินิกแนะนำว่าการรักษาด้วยโปรไบโอติกสามารถช่วยรักษาความเจ็บป่วยในทางเดินอาหารหลายอย่าง Probiotic คือเชื้อชนิดดีที่ช่วยชะลอการเกิดอาการแพ้ในเด็ก Probiotic คือสามารถรักษาและป้องกันการติดเชื้อในช่องคลอดและทางเดินปัสสาวะในผู้หญิง

          แต่โปรไบโอติกไม่ได้เหมือนกัน หรือให้ประโยชน์ได้เช่นเดียวกันทั้งหมด Probiotic คือแบคทีเรีย ดังนั้นในแต่ละสายพันธุ์จึงมีผลต่างกัน ตัวอย่างเช่น สายพันธุ์หนึ่งอาจต่อสู้กับสิ่งมีชีวิตที่ก่อให้เกิดโพรงในปากได้ โดยไม่จำเป็นต้องให้โดยการรับประทานผ่านระบบทางเดินอาหาร

          Probiotic คือ จุลินทรีย์ที่ช่วยรักษาโรคได้ ตัวอย่างประโยชน์ในการรักษา หรือป้องกันโรคของ โปรไบโอติก คือ

  1. ท้องเสีย Diarrhea
  2. ลำไส้แปรปรวน Irritable bowel syndrome
  3. ลำไส้อักเสบ Ulcerative colitis
  4. โรคโครห์น Crohn’s disease
  5. โรคติดเชื้อ pylori
  6. การติดเชื้อในช่องคลอด Vaginal infections
  7. การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ Urinary tract infections
  8. การกลับเป็นซ้ำของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ Recurrence of bladder cancer
  9. โรคติดเชื้อ difficile
  10. โรค Pouchitis ภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัดเพื่อรักษาอาการลำไส้ใหญ่บวมเป็นแผล
  11. ผิวหนังอักเสบเรื้อรังในเด็ก Eczema
 

รวมทุกความรู้และผลิตภัณฑ์

โปรไบโอติก

1.โปรไบโอติก กินตอนไหน มีประโยชน์ต่อสุขภาพลำไส้อย่างไร

          มีข้อมูลสำหรับการรักษาท้องเสียด้วยโปรไบโอติก ท้องเสีย คืออาการถ่ายอุจจะระเหลวเป็นน้ำมากกว่าปกติ มักเกิดได้ทั้งจากการติดเชื้อบางชนิด หรือเกิดจากยา หรือเกิดจากความผิดปกติของลำไส้

ท้องเสีย

โปรไบโอติก คือเชื้อจุลินทรีย์ชนิดดี ที่ช่วยรักษาอาการท้องเสียได้

 

          มีหลากหลายการศึกษา แสดงให้เห็นว่า ชนิดโปรไบโอติก เช่น Lactobacillus GG และ Saccharomyces bouladii สามารถย่นระยะเวลาของอาการท้องเสียในทารกและเด็ก รวมถึงในวัยผู้ใหญ่ได้ ด้วยกลไกของ Probiotic คือเข้าไปช่วยกำจัดเชื้อตัวไม่ดี

          นอกจากนี้การใช้ยาปฏิชีวนะ (Antibiotic) อาจมีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการท้องเสีย การเสริม Probiotic คือสามารถช่วยลดอาการท้องเสียที่เกี่ยวข้องกับยาปฏิชีวนะได้อีกด้วย

          ปัญหาที่พบบ่อยกว่าอาการท้องเสีย คือ อาการท้องผูก โปรไบโอติก ช่วยอะไร ในการรักษาอาการท้องผูก จากการศึกษาพบว่าโปรไบโอติกชะลอ “gut transit time” หรือเวลาขนส่งในลำไส้ ลงได้ 12.4 ชั่วโมง เพิ่มจำนวนการขับถ่าย และช่วยให้อุจจาระนิ่มลง ทำให้ผ่านได้ง่ายขึ้นได้

          การรักษาด้วยโปรไบโอติกอาจช่วยผู้ที่เป็นโรคโครห์นและอาการลำไส้แปรปรวนได้ การศึกษามีความหลากหลาย หลายการศึกษาแนะนำว่าโปรไบโอติก คือจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ ดังนั้น Probiotic คือสิ่งที่อาจช่วยรักษาการบรรเทาอาการลำไส้ใหญ่บวมเป็นแผลและป้องกันการกำเริบของโรค Crohn และการกลับเป็นซ้ำของ Pouchitis (ภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัดเพื่อรักษาอาการลำไส้ใหญ่บวมเป็นแผล)

ลำไส้แปรปรวน

โรคลำไส้แปรปรวน สามารถรักษาเสริมได้ด้วย Probiotics คือหนึ่งตัวช่วยบรรเทาอาการต่างๆทางระบบทางเดินอาหารได้

 

          โปรไบโอติก กินตอนไหน และกินอย่างไร Probiotic กินตอนไหนขึ้นกับว่าใช้โปรไบโอติกในการรักษาโรคอะไร เช่น โปรไบโอติก ท้องเสีย อาจะใช้เป็นระยะเวลา 3-5 วัน หรือในการใช้ร่วมกันกับยาปฏิชีวนะ สามารถใช้ร่วมกันกับยาปฏิชีวนะจนจบคอร์สการรักษา 7-14 วัน หรือสำหรับโรคเรื้อรังเช่น โรคโครห์นและอาการลำไส้แปรปรวน อาจใช้ยายาวนานมากกว่า 1 เดือนนั่นเอง

2.โปรไบโอติกและสุขภาพช่องคลอด

       โปรไบโอติกอาจใช้ในการรักษาสุขภาพทางเดินปัสสาวะ เช่นเดียวกับลำไส้ เนื่องจากช่องคลอดมีจุลินทรีย์ประจำถิ่น อยู่เป็นระบบนิเวศที่สมดุล หลากหลายสายพันธุ์ แต่ระบบอาจเสียสมดุลได้จากหลายปัจจัย เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาฆ่าอสุจิ และยาคุมกำเนิด Probiotic คือเชื้อจุลินทรีย์ชนิดดี เช่นเดียวกับจุลินทรีย์ประจำถิ่น การรักษาด้วยโปรไบโอติก คือตัวช่วยคืนสมดุลของจุลินทรีย์ประจำถิ่น ซึ่งอาจเป็นประโยชน์สำหรับปัญหาทั่วไปเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะของเพศหญิงได้ เช่น ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย การติดเชื้อรา และการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

ช่องคลอดมีจุลินทรีย์ประจำถิ่น ทั้งชนิดดี และไม่ดี ในภาวะปกติสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล

 

3.โปรไบโอติก ผลข้างเคียงที่ควรระวัง

          โดยทั่วไปโปรไบโอติก ผลข้างเคียงน้อย ถือว่าปลอดภัย เนื่องจากโปรไบโอติก คือจุลินทรีย์ที่มีอยู่แล้วในระบบย่อยอาหารปกติ แต่อย่างไรก็ตามในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือภูมิคุ้มกันต่ำ มักไม่แนะนำให้รับประทาน

          อย่างไรก็ตามในผู้ที่มีอาการป่วยรุนแรง หรือเด็กทารก เมื่อมีการพิจารณาโปรไบโอติกสำหรับบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงเหล่านี้ เช่นทารกที่คลอดก่อนกำหนดหรือผู้ป่วยในโรงพยาบาลที่ป่วยหนัก ควรชั่งน้ำหนักความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นของ Probiotic อย่างระมัดระวังเทียบกับผลประโยชน์ทางสุขภาพที่จะได้รับ

          ผลกระทบที่เป็นอันตรายที่เป็นไปได้ของ Probiotic คือ การติดเชื้อ การผลิตสารอันตรายโดยจุลินทรีย์โปรไบโอติก และการถ่ายโอนยีนต้านทานยาปฏิชีวนะจากจุลินทรีย์โปรไบโอติกไปยังจุลินทรีย์อื่นๆ ในทางเดินอาหาร ซึ่งปัญหานี้มักเกิดขึ้นเฉพาะโปรไบโอติกชนิดแบคทีเรีย และจะไม่เกิดขึ้นในโปรไบโอติกชนิดยีสต์ ที่มีอยู่เพียงชนิดเดียวในท้องตลาด คือ Saccharomyces boulardii

รวมทุกความรู้และผลิตภัณฑ์

โปรไบโอติก