กลูต้าไธโอน คือ สารต้านอนุมูลอิสระ ประกอบด้วยกรดอะมิโนส่วนใหญ่ 3 ชนิด ได้แก่ กลูตามีน ไกลซีน และซิสเทอีน จึงเรียกว่า Tripeptide
กลูต้า ประกอบด้วยกรดอะมิโน 3 ชนิด จึงเรียกว่า Tripeptide
ระดับกลูต้าไธโอนในร่างกายอาจลดลงได้จากหลายปัจจัย เช่น ภาวะโภชนาการที่ไม่ดี สารพิษที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อม และความเครียด นอกจากนี้ระดับมันก็ลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้นของคุณอีกด้วย
นอกจากร่างกายจะสามารถผลิตกลูต้าได้เองตามธรรมชาติแล้ว ยังสามารถรับจากแหล่งอาหารเสริมอื่นๆได้ เช่นให้ทางหลอดเลือดดำ ทาเฉพาะที่ หรือเป็นยาสูดดม นอกจากนี้ยังมีเป็นรูปแบบแคปซูลและแบบน้ำสำหรับรับประทานด้วย แต่อย่างไรก็ตาม การรับประทานกลูต้าอาจไม่ได้ผลเท่าที่ควรเมื่อเทียบกับการได้รับทางหลอดเลือดดำ
- ลดความเครียดจากปฎิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidative stress)
- ลดความเสียหายของเซลล์ในโรคไขมันสะสมในตับที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์และที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ (Alcoholic and nonalcoholic fatty liver disease)
- ปรับปรุงการดื้อต่ออินซูลินในผู้สูงอายุ (Insulin resistance)
- เพิ่มความไหลเวียนของเลือดสำหรับผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ (Peripheral artery disease)
- ลดอาการของโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease)
- ช่วยให้โรคแพ้ภูมิตัวเองดีขึ้น (Autoimmune disease)
- ลดความเสียหายจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน ในเด็กออทิสติก (Autism)
- ลดการเกิดโรคแทรกซ้อนของโรคเบาหวานในผู้ที่ไม่สามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ดี (Diabetes)
- ลดอาการของโรคทางเดินหายใจ (Respiratory disease symptoms)
สารบัญเนื้อหา
10 ประโยชน์ของกลูต้าไธโอนที่คุณควรรู้
-
ลดความเครียดจากปฎิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidative stress)
ความเครียดที่เกิดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันเกิดขึ้นเมื่อมีความไม่สมดุลระหว่างการผลิตอนุมูลอิสระและความสามารถของร่างกายในการต่อสู้กับพวกมัน ระดับความเครียดออกซิเดชันที่สูงเกินไปอาจเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ ได้แก่ เบาหวาน มะเร็ง และข้ออักเสบรูมาตอยด์ กลูต้าไธโอนช่วยป้องกันผลกระทบของความเครียดออกซิเดชัน ซึ่งอาจช่วยลดโรคต่างๆเหล่านี้ได้
โดยมีบทความที่อ้างถึงใน Journal of Cancer Science and Therapy ระบุว่าการขาดกลูต้าไธโอนทำให้ระดับความเครียดออกซิเดชันเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่มะเร็งได้ นอกจากนี้ยังระบุด้วยว่าระดับกลูต้าที่เพิ่มขึ้นช่วยเพิ่มระดับสารต้านอนุมูลอิสระและความต้านทานต่อความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันในเซลล์มะเร็ง
-
ลดความเสียหายของเซลล์ในโรคไขมันสะสมในตับที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์และที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ (Alcoholic and nonalcoholic fatty liver disease)
การขาดสารต้านอนุมูลอิสระ ทำให้การตายของเซลล์ในตับอาจทำให้รุนแรงขึ้นได้ สามารถนำไปสู่โรคไขมันพอกตับทั้งในผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์และผู้ที่ไม่ดื่ม กลูต้าไธโอนมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ จึงมีประโยชน์ในการรักษาระดับโปรตีน เอนไซม์ และบิลิรูบินในเลือดของผู้ที่เป็นโรคไขมันสะสมในตับเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์และที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์
โรคไขมันพอกตับ หรือที่เรียกว่า Non Alcoholic Fatty Live Disease (NAFLD) หรือ Non Alcoholic Steato Hepatitis (NASH)
แหล่งการศึกษาที่เชื่อถือได้รายงานว่ากลูต้ามีประสิทธิภาพมากที่สุดเมื่อให้กับผู้ที่เป็นไขมันสะสมในตับที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์และที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ โดยให้ทางเส้นเลือดในปริมาณที่สูง พบว่าผู้ที่เข้าร่วมการศึกษามีการลดลงของสาร Malondialdehyde ซึ่งเป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงความเสียหายของเซลล์ในตับ
นอกจากนี้มีการศึกษาพบว่าการรับประทานกลูต้ามีผลในเชิงบวกต่อผู้ที่เป็นโรคไขมันสะสมในตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ โดยในการศึกษานี้ ให้รับประทานกลูต้าในรูปแบบอาหารเสริมในขนาด 300 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 4 เดือน
-
ปรับปรุงการดื้อต่ออินซูลินในผู้สูงอายุ (Insulin resistance)
เมื่ออายุมากขึ้นการผลิตกลูต้าไธโอนน้อยลง มีนักวิจัยศึกษาในสัตว์ทดลองและในมนุษย์ร่วมกันเพื่อสำรวจบทบาทของกลูต้าในการควบคุมน้ำหนักและการดื้อต่ออินซูลินในผู้สูงอายุ ผลการศึกษาพบว่าระดับกลูต้าไธโอนที่ต่ำมีความสัมพันธ์กับการเผาผลาญไขมันที่น้อยลงและอัตราการจัดเก็บไขมันในร่างกายสูงขึ้น
ในผู้ที่มีได้รับซิสเทอีนและไกลซีนในอาหารเพื่อเพิ่มระดับกลูต้าไธโอน ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นภายใน 2 สัปดาห์ พบว่าเมื่อระดับกลูต้าเพิ่มขึ้น ช่วยลดการดื้อต่ออินซูลินและเพิ่มการเผาผลาญไขมันได้
-
เพิ่มความไหลเวียนของเลือดสำหรับผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ (Peripheral artery disease)
โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบเกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตันไปด้วยคราบพลัค มีงานวิจัยรายงานว่ากลูต้าไธโอนสามารถช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดให้ดีขึ้นได้ เพิ่มความสามารถของผู้เข้าร่วมการศึกษาในการเดินโดยปราศจากความเจ็บปวดในระยะทางไกล ผู้เข้าร่วมที่ได้รับกลูต้า โดยได้รับการฉีดเข้าเส้นเลือดดำ 2 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 5 วัน
โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบเกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตันไปด้วยคราบพลัค
-
ลดอาการของโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease)
โรคพาร์กินสันส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลางและกำหนดโดยอาการต่างๆ เช่น อาการสั่น ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษา การศึกษาเก่าชิ้นหนึ่งระบุผลในเชิงบวกของกลูต้าไธโอนทางหลอดเลือดดำต่ออาการต่างๆ เช่น อาการสั่นและความเกร็ง ในขณะที่จำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติม รายงานกรณีนี้ชี้ให้เห็นว่ากลูต้าไธโอนอาจช่วยลดอาการ ปรับปรุงคุณภาพชีวิตในผู้ที่เป็นโรคนี้
-
ช่วยให้โรคแพ้ภูมิตัวเองดีขึ้น (Autoimmune disease)
การอักเสบเรื้อรังที่เกิดจากโรคแพ้ภูมิตัวเอง สามารถเพิ่มความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน โรคเหล่านี้รวมถึงข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคเซลิแอค (Celiac Disease) หรือโรคที่เกี่ยวกับระบบการย่อยอาหาร ที่มีสาเหตุมาจากระบบภูมิคุ้มกันมีปฏิกิริยาต่อกลูเตนแบบผิดปกติ และโรคลูปัส (Lupus) ที่เป็นอาการอักเสบแบบเรื้อรังที่เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายหันมาโจมตีเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ของคุณเอง
จากการศึกษาพบว่า กลูต้าไธโอนช่วยลดความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันโดยการกระตุ้นหรือลดการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยทั่วไปโรคแพ้ภูมิตัวเอง มักจะโจมตีที่ไมโตคอนเดรียในเซลล์ และสารกลูต้าสามารถทำงานเพื่อปกป้องเซลล์ไมโตคอนเดรียโดยการกำจัดอนุมูลอิสระได้นั่นเอง
-
ลดความเสียหายจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน ในเด็กออทิสติก (Autism)
การทดลองทางคลินิกที่รายงานใน Medical Science ระบุว่าเด็กออทิสติกมีระดับความเสียหายจากปฏิกิริยาออกซิเดชันที่สูงขึ้นและมีระดับกลูต้าไธโอนในสมองลดลง การลดลงของระดับกลูต้าไธโอน ไปเพิ่มความไวต่อความเสียหายทางระบบประสาทในเด็กออทิสติกได้
-
ลดการเกิดโรคแทรกซ้อนของโรคเบาหวานในผู้ที่ไม่สามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ดี (Diabetes)
ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเกินระดับที่เหมาะสม ในระยะยาว สัมพันธ์กับปริมาณกลูต้าไธโอนที่ลดลง ซึ่งสามารถนำไปสู่ความเครียดออกซิเดชันและความเสียหายของเนื้อเยื่อได้ การศึกษาพบว่าการเสริมอาหารด้วยซิสเทอีนและไกลซีนช่วยเพิ่มระดับกลูต้า นอกจากนี้ยังช่วยลดความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันและความเสียหายในผู้ที่เป็นเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมได้
โรคเบาหวานที่คุมไม่ได้คือการมีระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเกินระดับที่เหมาะสม
-
ลดอาการของโรคทางเดินหายใจ (Respiratory disease symptoms)
N-acetylcysteine เป็นหนึ่งในยาที่ใช้รักษาอาการต่างๆ เช่น โรคหอบหืด (Asthma) และโรคซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis) ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของยีน ทำให้สารคัดหลั่งของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายเหนียวข้นขึ้น เช่น ปอด โดยเป็นยาสูดพ่นช่วยให้เสมหะบางลงและยังช่วยลดการอักเสบ โดย N-acetylcysteine เป็นผลพลอยได้จากสารกลูต้าไธโอน
กลูต้าไธโอน กินตอนไหนและกินอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุด
โดยทั่วไปช่วงที่ท้องว่าง ร่างกายจะสามารถดูดซึมสารต่างๆเข้าไปได้เร็วและปริมาณมากที่สุด ดังนั้นจึงแนะนำให้รับประทานกลูต้าในช่วงท้องว่างเช่น หลังตื่นนอนในตอนเช้า หรือช่วงค่ำ ก่อนเข้านอนเป็นต้น
ซึ่งปริมาณกลูต้าไธโอนที่เหมาะสม อยู่ที่ 40 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณมีน้ำหนักตัว 60 กิโลกรัม ควรได้รับกลูต้าต่อวันที่ 2,400 มิลลิกรัม โดยจะรับประทานจำนวนกี่เม็ด ก็ขึ้นอยู่กับยี่ห้ออาหารเสริมที่คุณเลือกรับประทานนั่นเอง
เสริมกลูต้าไธโอนได้อย่างไร
กลูต้าไธโอนสามารถพบได้ในอาหารตามธรรมชาติ ได้แก่
- เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู ปลาแซลมอน
- อาหารโปรตีน เช่น นม ไข่ โยเกิร์ต เมล็ดแฟลกซ์
- ผลไม้ เช่น สตรอเบอร์รี่ ส้ม องุ่น แตงโม แอปเปิ้ล
- ผักต่างๆ เช่น หน่อไม้ฝรั่ง ถั่วลันเตา ถั่วเหลือง ผักโขม บร็อกโคลี่ อะโวคาโด เห็ด
อาหารโปรตีนสูง และผัก ผลไม้หลายชนิดมีปริมาณกลูต้าสูง
การรับประทานทานอาหารเสริมกลูต้าไม่ได้จำเป็นสำหรับทุกคน อย่างไรก็ตามควรปรึกษาแพทย์เพื่อดูว่าคุณจำเป็นต้องได้รับการเสริมกลูต้าหรือไม่
การรับประทานกลูต้า อาจพบผลข้างเคียงได้แก่
- ปวดท้อง
- ท้องอืด
- อาการแพ้ ผื่น หายใจลำบากเนื่องจากการหดตัวของหลอดลม
สุดท้ายนี้กลูต้า คือ สารต้านอนุมูลอสระที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งผลิตขึ้นในเซลล์ของร่างกาย ระดับของมันจะลดลงอันเป็นผลมาจากอายุที่เพิ่มสูงขึ้น ความเครียด และการสัมผัสสารพิษ การเสริมกลูต้าไธโอน ไม่ว่าจะเป็นการเลือกรับประทานอาหารจากธรรมชาติ หรือจากแหล่งอาหารเสริม อาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย รวมถึงการลดความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันได้อีกด้วย