แคลเซียม เป็นแร่ธาตุสำคัญ ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ได้เอง ต้องได้รับจากการรับประทานเท่านั้น อย่างไรก็ตามมีหลายปัจจัยที่อาจทำให้ร่างกายได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ เช่น ผู้สูงอายุที่อาจดูดซึมแร่ธาตุนี้ได้น้อยลง ภาวะพร่องวิตามินดี หรือการรับประทานอาหารบางชนิดที่มีผลต่อการดูดซึมแคลเซียม เช่น อาหารที่มีกรดออกซาลิก (Oxalic acid) หรือกรดไฟติก (Phytic acid) เป็นต้น

          แม้ว่าแหล่งของแร่ธาตุชนิดนี้ที่ดีที่สุด คือ อาหารจากธรรมชาติ แต่หากเราได้รับไม่เพียงพอ หรือมีโรคบางอย่างที่อาจต้องการแร่ธาตุนี้มากขึ้น เช่น กระดูกพรุน การได้รับยาแคลเซียมก็มีความจำเป็น บทความนี้จะพาไปรู้จักกับยาแคลเซียมชนิดต่างๆ เพื่อให้เราสามารถเลือกรับประทานได้ถูกต้องยิ่งขึ้น

 
แคลเซียม ยี่ห้อไหนดี

แหล่งแคลเซียมที่แนะนำให้บริโภค คือ อาหารจากธรรมชาติ

สารบัญเนื้อหา

ประเภทของยาแคลเซียมเสริม

          ยาแคลเซียมเสริม มีหลายรูปแบบ หลายส่วนประกอบ ซึ่งยาแคลเซียมแต่ละประเภทก็มีข้อดีข้อด้อยที่แต่ต่างกัน สำหรับยาแคลเซียมที่พบบ่อย ได้แก่

  1. แคลเซียมคาร์บอเนต (Calcium carbonate)
  2. แคลเซียมซิเทรต (Calcium citrate)
  3. แคลเซียมแลคเตท (Calcium lactate)
  4. แคลเซียมกลูโคเนต (Calcium gluconate)
  5. แคลเซียมชนิดอื่นๆ

แคลเซียมคาร์บอเนต (Calcium carbonate)

หรือแคลไซต์ (calcite) ยาชนิดนี้มีปริมาณแคลเซียมเป็นส่วนประกอบประมาณ 40% ของน้ำหนัก เป็นรูปแบบยาที่มีปริมาณแคลเซียมมากกว่าชนิดอื่นๆ

แคลเซียมคาร์บอเนตดูดซึมได้ดีในภาวะกรด ดังนั้น จึงแนะนำให้รับประทานพร้อมมื้ออาหาร เนื่องจากเป็นช่วงที่มีการหลั่งกรดจากกระเพาะอาหาร ข้อด้อยของแคลเซียมคาร์บอเนต คือ อาจทำให้เกิดอาการท้องผูก ท้องอืดตามมาได้ (CaCO3 [s] + 2 HCl [aq] = H2O [l] + CO2 [g] + CaCl2 [aq])

แคลเซียมซิเทรต (Calcium citrate)

มีปริมาณแคลเซียมเป็นส่วนประกอบประมาณ 21% ของน้ำหนัก แคลเซียมชนิดนี้ร่างกายสามารถดูดซึมได้มากกว่าแคลเซียมคาร์บอเนตประมาณ 25% อีกทั้งภาวะกรดด่างในลำไส้ไม่มีผลต่อการดูดซึม จึงไม่จำเป็นต้องรับประทานพร้อมอาหาร ดังนั้นจึงเหมาะกับผู้สูงอายุที่การหลั่งกรดน้อยกว่าคนปกติ หรือผู้ที่มีโรคเกี่ยวกับลำไส้ หรือทานยาลดกรดเป็นประจำ นอกจากนี้ ผลข้างเคียงเรื่องท้องผูกพบได้น้อยกว่ายาแคลเซียมคาร์บอเนต

อย่างไรก็ตามเนื่องจากปริมาณแคลเซียมน้อยกว่าแคลเซียมคาร์บอเนต จึงต้องทานมากขึ้นหากต้องการแคลเซียมเสริมในปริมาณสูง และมักมีราคาแพงกว่า

แคลเซียมแลคเตท (Calcium lactate)

มีปริมาณแคลเซียมเป็นส่วนประกอบประมาณ 13% ของน้ำหนัก เนื่องจากมีปริมาณแคลเซียมน้อย จึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าสองชนิดแรก แคลเซียมชนิดนี้สามารถรับประทานตอนท้องว่างได้ อาหารในธรรมชาติที่พบส่วนประกอบชนิดนี้ได้ เช่น ชีสแข็ง (hard cheese หรือ aged cheese)

แคลเซียมกลูโคเนต (Calcium gluconate)

มีปริมาณแคลเซียมเป็นส่วนประกอบประมาณ 9% ของน้ำหนัก นิยมใช้ในรูปแบบฉีดเข้าหลอดเลือดดำในการเพิ่มระดับแคลเซียมในกระแสเลือดอย่างเร่งด่วน สำหรับรูปแบบรับประทานไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากปริมาณแคลเซียมน้อย สำหรับผลข้างเคียงที่พบได้ คือ ท้องผูก

แคลเซียมชนิดอื่นๆ

เช่น แคลเซียมฟอสเฟต (Calcium phosphate) มีปริมาณแคลเซียมเป็นส่วนประกอบประมาณ 38.7% ของน้ำหนัก พบมากในนมวัว, แคลเซียมอะซิเตต (Calcium acetate) ที่ใช้ในผู้ป่วยโรคไต เป็นต้น

กิน แคลเซียม

การรับประทานยาแคลเซียมคาร์บอเนต อาจทำให้ท้องอืด ท้องผูกได้

รวมทุกความรู้และผลิตภัณฑ์

แคลเซียม

ปัจจัยที่มีผลให้ร่างกายได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ

          บางคนอาจสงสัยว่าแคลเซียม ห้ามกินกับอะไร อาจตอบได้ว่าไม่มีอาหารที่ห้ามชัดเจน โดยเราอาจพิจารณาปัจจัยที่อาจส่งผลให้ร่างกายได้รับแคลเซียมแคลเซียมลดลด 2 ปัจจัยหลัก คือ การดูดซึมน้อย และการขับแคลเซียมออกจากร่างกายมาก โดยปัจจัยที่มีผล ได้แก่

  • อายุ เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายจะดูดซึมแคลเซียมที่ลำไส้ได้น้อยลง
  • ปริมาณของวิตามินดีในร่างกาย วิตามินดีมีส่วนช่วยในการดูดซึมของแคลเซียมเข้าสู่ร่างกาย รวมถึงลดปริมาณการขับของแคลเซียมที่ไต ดังนั้น หากขาดวิตามินดีจะทำให้ร่างกายได้รับแคลเซียมน้อยลงได้ ดูประโยชน์ของวิตามินดีเพิ่มเติมได้
 
  • การลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนในหญิงวัยหมดประจำเดือน มีผลทำให้การดูดซึมแคลเซียมได้น้อยลง อีกทั้งจะเพิ่มภาวะการสูญเสียมวลกระดูกมากขึ้นอีกด้วย
  •  สารอาหารบางชนิดในอาหาร เช่น กรดออกซาลิก (Oxalic acid) กรดไฟติก (Phytic acid) สารเหล่านี้จะไปจับแคลเซียม ทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมแคลเซียมได้
  • การรับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูง โปรตีนสูง คาเฟอีน แอกออฮอล์ จะทำให้ร่างกายเพิ่มการสูญเสียแคลเซียมที่ไตได้
แคลเซียม เม็ด ฟู่

การรับประทานอาหารบางชนิดพร้อมกับยาแคลเซียม เช่น กรดไฟติก ที่พบได้พืชตระกูลถั่ว จะทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้น้อยลง

 

เราควรได้รับแคลเซียมเสริมเมื่อไร

แหล่งของแคลเซียมที่แนะนำสำหรับทุกเพศทุกวัย คือ “แคลเซียมจากอาหาร” เป็นหลัก

ดูอาหารชนิดใดมีปริมาณแคลเซียมสูงได้ที่นี่

           ทั้งนี้ การสังเกตว่าได้รับแร่ธาตุชนิดนี้เพียงพอหรือไม่นั้นไม่สามารถดูจากระดับแคลเซียมในเลือดได้ เนื่องจากในภาวะปกติร่างกายจะรักษาระดับของแคลเซียมในเลือดให้คงที่เสมอ ดังนั้น เราควรได้รับยาแคลเซียมเสริมเมื่อใดนั้น อาจต้องอาศัยบริบทรอบๆด้านที่อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงให้ร่างกายได้รับปริมาณแคลเซียมน้อยกว่าที่ควรได้รับในแต่ละวัย

ดูปริมาณแคลเซียมที่ควรได้รับในแต่ละช่วงวัยได้ที่นี่

ยาแคลเซียม กินตอนไหนดี

          ร่างกายจะสามารถดูดซึมยาได้มีประสิทธิภาพดีที่สุดที่ขนาดแคลเซียมประมาณ 500 มิลลิกรัม ต่อครั้ง ดังนั้นหากต้องการปริมาณที่มากกว่า 500 มิลลิกรัมต่อวัน จะแนะนำให้รับประทานแยกเวลา เช่น ทุก 6-8 ชม.

ปัจจัยที่มีผลต่อการดูดซึมของยาแคลเซียม

ปัจจัยที่ช่วยเพิ่มการดูดซึมยาแคลเซียม

  • ภาวะความเป็นกรด การทานยาแคลเซียมคาร์บอเนตพร้อมอาหาร หรืออาจทานพร้อมน้ำส้ม จะช่วยเพิ่มการดูดซึมได้
  • วิตามินดีในร่างกาย ช่วยกระตุ้นการดูดซึมยาแคลเซียม

ปัจจัยที่ลดการดูดซึมยาแคลเซียม

  • ยาเสริมธาตุเหล็ก, tetracycline, fluoroquinolones มีผลจับกับแร่แคลเซียมทำให้ลำไส้ไม่สามารถดูดซึมได้ หากต้องรับประทาน แนะนำให้รับประทานห่างกันประมาณ 2 ชั่วโมง
  • ยาต้านการอักเสบ/ยากดภูมิพวก glucocorticoids มีผลต่อกลไกการออกฤทธิ์ของวิตามินดี ลดการดูดซึมของแคลเซียมทางอ้อม
  •  ยาลดกรด
 
แคลเซียม ดี

ร่างกายสามารถดูดซึมยาแคลเซียมคาร์บอเนตได้ในสภาวะกรดอ่อนๆ ดังนั้น แคลเซียม กินตอนไหน สำหรับแคลเซียมคาร์บอเนตจะแนะนำให้รับประทานพร้อมอาหาร หรือน้ำส้มจะช่วยให้การดูดซึมดีขึ้น

 

ปริมาณสูงสุดของแคลเซียมในแต่ละวัน

          สำหรับปริมาณแคลเซียมสูงสุดที่รับได้แต่ละวัน ในปริมาณสารอาหารอ้างอิงในประชากรไทย ปีพ.ศ. 2563 นั้นจะใช้ตามคำแนะนำของประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวคือ เด็กอายุ 1-8 ปี 2,500 มิลลิกรัม, อายุ 9-18 ปี 3,000 มิลลิกรัม, อายุ 19-50 ปี 2,500 มิลลิกรัม, >50 ปี 2,000 มิลลิกรัม, และหญิงตั้งครรภ์หรือหญิงให้นมบุตร 14-18 ปี 3,000 มิลลิกรัม, 19-50 ปี 2,500 มิลลิกรัม

          ภาวะข้างเคียงจากการได้รับแคลเซียมมากเกินไป โดยเฉพาะแคลเซียมคาร์บอเนต คือ ท้องผูก ท้องอืด สำหรับภาวะแคลเซียมในเลือดสูงจากการบริโภคแคลเซียม มักพบในผู้ที่รับประทานมากกว่า 3,000 มิลลิกรัมต่อวัน ร่วมกับภาวะอื่นๆ เช่น การได้รับวิตามินดีสูงเกินไป ซึ่งมีโอกาสที่ระดับแคลเซียมในเลือดจะสูงผิดปกติได้ และอาจทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดตามมา หรือการเกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะได้ อย่างไรก็ตามการได้รับแคลเซียมน้อยเกินไป ก็มีส่วนทำให้เกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะได้เช่นกัน

รวมทุกความรู้และผลิตภัณฑ์

แคลเซียม