ปวดท้องเมนส์ หรืออาการปวดท้องประจำเดือน โดยการมีประจำเดือนเกิดขึ้นเนื่องจากเลือดและเยื่อบุโพรงมดลูกที่ถูกผลัดออกมาในแต่ละเดือน โดยรอบเดือนของผู้หญิงแต่ละคนก็จะแตกต่างกันออกไป ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นทุก 21-35 วัน แต่ละรอบประจำเดือนจะอยู่นาน 3-7 วัน
โดยปกติแล้วร่างกายของเราจะต้องมีการสร้างเนื้อเยื่อโพรงมดลูกใหม่ทุกๆเดือน เพื่อเตรียมพร้อมต่อการฝังตัวของตัวอ่อน และเมื่อไม่มีการฝังตัวของตัวอ่อน เยื่อบุโพรงมดลูกจะสลายออกมานั่นเอง
ในระหว่างการมีเมนส์ อาจมีอาการปวดท้องเมน มีความรู้สึกไม่สบาย ซึ่งเป็นอาการปกติที่พบได้ในผู้หญิงทุกคน แต่อย่างไรก็ตามหากมีอาการปวดท้องเมนส์ที่มากเกินไป ที่ทำให้ต้องขาดงานหรือขาดเรียน สิ่งนั้นอาจไม่ใช่เรื่องปกติ และควรต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุเพิ่มเติม
สารบัญเนื้อหา
ปวดท้องเมน ได้อย่างไร มาทำความเข้าใจวงจรของประจำเดือนกัน
เพื่อให้เข้าใจถึงอาการปวดท้องเมนส์ ควรต้องเข้าใจถึงวงจรของประจำเดือนกันก่อน ตามที่ได้กล่าวไปว่ารอบของประจำเดือนเป็นการเตรียมพร้อมร่างกายสำหรับการตั้งครรภ์ในทุกๆเดือน โดยรอบประจำเดือนและระยะเวลาจะถูกควบคุมโดยฮอร์โมน เช่น เอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone)
โดยทั่วไปผู้หญิงจะมีรังไข่ 2 อัน และแต่ละอันจะมีไข่อยู่เป็นจำนวนมาก ในระหว่างรอบเดือน ฮอร์โมนจะทำให้ไข่ในรังไข่เติบโตเต็มที่และตกลงมาจากรังไข่ เป็นไข่ที่พร้อมที่จะปฏิสนธิ ในบางคนอาจมีอาการตกไข่บางอย่างเกิดขึ้น เช่น มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือมีอาการปวดเล็กน้อยที่ท้องส่วนล่าง แต่ในบางคนก็ไม่มีอาการใดๆ เมื่อไข่ออกจากรังไข่ ไข่จะเดินทางผ่านท่อนำไข่อันใดอันหนึ่งไปยังมดลูก เพื่อรอปฎิสนธิกับเซลล์อสุจิต่อไป โดยร่างกายของผู้หญิงจะมีฮอร์โมนที่ช่วยทำให้เยื่อบุมดลูกหนาตัวเพื่อเตรียมพร้อมต่อการฝังตัวของตัวอ่อนด้วย ดังนั้นหากไข่ได้รับการปฏิสนธิ ไข่จะมีที่ที่นุ่มสบายสำหรับลงจอดและเริ่มตั้งครรภ์ เยื่อบุนี้ทำจากเนื้อเยื่อและเลือด มีสารอาหารมากมายที่จะช่วยให้การตั้งครรภ์เป็นไปอย่างสมบูรณ์
ในทางตรงกันข้าม หากการตั้งครรภ์ไม่เกิดขึ้น ไข่ที่ตกลงมาไม่เจอกับอสุจิ ร่างกายก็ไม่ต้องการเยื่อบุโพรงมดลูกที่หนาอีกต่อไป เยื่อบุโพรงมดลูกจึงสลายออกมา ในรูปแบบที่เราเรียกว่าเป็นประจำเดือน
ร่างกายผู้หญิงประกอบด้วยรังไข่ที่เป็นที่อยู่ของไข่ ที่เมื่อโตเต็มที่จะตกลงมาตามที่นำไข่และเมื่อมีการปฏิสนธิกับอสุจิ ตัวอ่อนก็จะฝังตัวที่โพรงมดลูก
ปวดท้องเมนส์ เกิดจากอะไร
สาเหตุของการเกิดอาการปวดท้องเมนส์นั้นมาจากสารที่เรียกว่าพรอสตาแกลนดิน (Prostaglandins) ซึ่งเป็นสารที่ผลิตขึ้นในร่างกายของเราเอง พรอสตาแกลนดินเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางร่างกายหลายอย่าง รวมถึงการอักเสบและมีหน้าที่ในการหดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกอีกด้วย
โดยการหดตัวของกล้ามเนื้อเหล่านี้ช่วยในการสลายเยื่อบุมดลูกออกมา ซึ่งจะกลายเป็นของเหลวที่ออกมาจากช่องคลอด ที่เรียกว่าประจำเดือนนั่นเอง อย่างไรก็ตาม ในผู้หญิงที่มีประจำเดือนไม่ปกติ มักมีระดับพรอสตาแกลนดินเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้มีการหดตัวของมดลูกที่รุนแรงขึ้น ทำให้มีอาการปวดท้องเมนส์อย่างรุนแรงได้
นอกจากนี้ยังมีอาการปวดท้องเมนอีกประเภทหนึ่งที่แพทย์อ้างถึงคือ อาการปวดท้องประจำเดือนทุติยภูมิ อาการปวดท้องประจำเดือนประเภทนี้เกิดจากความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis), ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูดเจริญผิดที่เข้าไปในกล้ามเนื้อมดลูก (Adenomyosis), โรคเกี่ยวกับกระดูกเชิงกรานอักเสบ (Pelvic inflammatory disease) หรือเนื้องอกในมดลูก (Fibroids) เป็นต้น
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) อาจทำให้ผู้หญิงเกิดอาการปวดท้องเมนส์อย่างรุนแรงได้
เยื่อบุโพรงมดลูกที่เติบโตนอกมดลูกได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดท้องเมนศือย่างรุนแรง มีอาการตะคริว มีเลือดออกมาก ระคายเคืองและอักเสบ อย่างไรก็ตามกรณีส่วนใหญ่ของ Endometriosis สามารถจัดการการรักษาได้ดีด้วยการใช้ยา
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)
ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูดเจริญผิดที่เข้าไปในกล้ามเนื้อมดลูก (Adenomyosis)
ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูดเจริญผิดที่เข้าไปในกล้ามเนื้อมดลูก เป็นภาวะที่เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเป็นผนังกล้ามเนื้อของมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูกสามารถส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อมดลูกทั้งหมด อาจทำให้เกิดปวดท้องเมนส์ เป็นตะคริวรุนแรงได้ ปัจจุบันแพทย์ยังไม่แน่ใจว่าสาเหตุของ Adenomyosis เป็นอย่างไร แต่ผู้หญิงที่เคยมีบุตรหรือได้รับการผ่าตัดมดลูกมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคนี้ได้มากกว่า
โรคกระดูกเชิงกรานอักเสบ (Pelvic inflammatory disease)
โรคกระดูกเชิงกรานอักเสบ เกิดเมื่อมดลูกและรังไข่ติดเชื้อ จะเรียกว่าโรคเกี่ยวกับกระดูกเชิงกรานอักเสบ (PID) การติดเชื้อมักเริ่มต้นเมื่อแบคทีเรียจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STI) ไปถึงอวัยวะสืบพันธุ์ โรค PID สามารถเกิดขึ้นได้ตามขั้นตอนการผ่าตัด แม้ว่าผู้หญิงหลายคนจะไม่มีอาการของโรคกระดูกเชิงกรานอักเสบ แต่สำหรับบางคนก็อาจทำให้เกิดปวดท้องเมนส์ เกร็งในช่องท้องได้
เนื้องอกในมดลูก (Fibroids) ภัยร้ายที่อาจมาด้วยอาการปวดท้องเมนส์
เนื้องอกในมดลูกเป็นเนื้องอกที่ไม่ร้ายแรง ซึ่งอาจเกิดขึ้นในเยื่อบุโพรงมดลูก อาจมีขนาดเล็กมากจนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า หรือใหญ่พอที่จะเปลี่ยนรูปร่างของมดลูกได้ มักปรากฏขึ้นในช่วงวัยเจริญพันธุ์และมักจะหดตัวหรือหายไปอย่างสมบูรณ์หลังวัยหมดประจำเดือน มีปัจจัยบางอย่าง ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดเนื้องอกได้ ซึ่งได้แก่อายุ เชื้อสายแอฟริกันอเมริกัน มีประวัติครอบครัวเป็นเนื้องอกและมีน้ำหนักเกิน และเนื่องจากเนื้องอกในเยื่อบุโพรงมดลูกสามารถทำให้เกิดประจำเดือนมามากกว่าปกติ และทำให้ปวดท้องเมนส์ได้
ปวดท้องประจำเดือนแบบไหนเรียกว่าปกติ
โดยปกติแล้วรอบประจำเดือน จะนับจากวันแรกของรอบเดือนถึงวันแรกของรอบเดือนถัดไป ซึ่งจะไม่เหมือนกันสำหรับผู้หญิงทุกคน การมีประจำเดือนอาจเกิดขึ้นทุกๆ 21-35 วัน และอาจกินเวลายาวนานตั้งแต่ 2-7 และรอบประจำเดือนมักจะสั้นลงและสม่ำเสมอมากขึ้นเมื่อคุณอายุมากขึ้น
คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าคุณมีอาการปวดท้องเมนส์แบบปกติทั่วไปหรือไม่ อาการปวดท้องเมนส์ปฐมภูมิพบได้บ่อยกว่าอาการปวดท้องประจำเดือนทุติยภูมิ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากอาการปวดท้องประจำเดือนอาจรุนแรงและเชื่อมโยงกับภาวะสุขภาพที่ร้ายแรง สิ่งสำคัญคือต้องตระหนักว่าอะไรคือปกติ และอะไรที่ไม่เกี่ยวกับอาการปวดประจำเดือน
คำถามสำคัญที่ควรถามตัวเอง 5 ข้อต่อไปนี้
- อาการปวดท้องเมนส์ของคุณแย่มาก จนคุณไม่สามารถไปโรงเรียนหรือทำงานได้
- เวลามีประจำเดือน จะรู้สึกปวดท้องประจำเดือนเวลาเข้าห้องน้ำหรือไม่
- อาการปวดท้องเมนของคุณแย่มากจนแม้แต่ยาแก้ปวดที่ก็ไม่ช่วยอะไรใช่หรือไม่
- คุณมักมีอาการปวดบริเวณอุ้งเชิงกรานนอกช่วงเวลาที่มีประจำเดือน ตัวอย่างเช่น 2-3 วัน จนถึงทุกสัปดาห์หรือทุกสัปดาห์ที่ 2
- คุณมีประสบการณ์ทางเพศที่เจ็บปวดหรือไม่
หากคุณตอบว่า ใช่ จากคำถามเหล่านี้อย่างน้อย 1 ข้อ เราแนะนำให้คุณเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์เพื่อทำการหาสาเหตุ และทำการรักษาต่อไป
ปวดท้องเมนส์ ทําไง บรรเทาอาการได้ด้วยการดื่มน้ำให้มากขึ้น
อาการปวดท้องเมนส์ ในช่วงมีประจำเดือนหรือประจำเดือนไม่ปกติเป็นส่วนที่ไม่สบายใจในชีวิตสำหรับผู้หญิงหลายคน การดื่มน้ำให้มากขึ้นอาจช่วยลดอาการท้องอืด ซึ่งทำให้อาการปวดท้องเมนดีขึ้นได้ โดยสร้างนิสัยในการดื่มน้ำให้มากพอ 6-8 แก้วต่อวันโดยเฉพาะในช่วงเวลามีประจำเดือน อาจใส่ใบสะระแหน่หรือมะนาวฝานเป็นแว่นผสมในน้ำ เพื่อให้รับประทานง่ายยิ่งขึ้น หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ในผู้หญิงบางคนอาจมีอาการท้องเสียหรืออาเจียนร่วมกับอาการปวดประจำเดือน หากมีอาการหล่านี้ สิ่งสำคัญคือต้องดื่มน้ำทดแทนในปริมาณมากขึ้น เพื่อป้องการการสูญเสียน้ำในร่างกาย
วิธีการที่ช่วยให้คุณดื่มน้ำในแต่ละวันได้มากขึ้น อาจเริ่มต้นเช้าทุกวันด้วยการดื่มน้ำผลไม้ จิบชาคาโมไมล์ หรือขิง ผสมสะระแหน่ หรือน้ำมะนาวในเหยือกน้ำสำหรับดื่มตลอดวัน โดยการมีปริมาณน้ำอย่างเพียงพอในร่างกาย ไม่ได้ดีแค่ช่วยลดอาการปวดท้องเมน แต่ยังดีต่อสุขภาพโดยรวมของคุณด้วย
ผู้หญิงควรสร้างนิสัยในการดื่มน้ำให้มาก 6-8 แก้วต่อวันโดยเฉพาะในช่วงเวลามีประจำเดือนจะช่วยลดอาการปวดท้องประจำเดือนได้
วิธีแก้ปวดท้องเมนส์ ด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่ช่วยลดอาการปวด
การเลือกรับประทานอาหารถือเป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ช่วยบรรเทาอาการปวดท้องเมนส์ได้ ในระหว่างช่วงการมีประจำเดือนคุณอาจจะอยากรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงๆ เช่นมันฝรั่งทอด อาหารรสเค็ม ขนมหวาน เช่นโดนัทหรือขนมเค้ก
แต่อาหารเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่ดีต่อร่างกาย พบว่าการรับประทานอาหารที่เหมาะสมอาจช่วยบรรเทาอาการปวดท้องเมนได้ อาหารที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ เช่น ผลไม้ เชอร์รี่ บลูเบอร์รี่ รวมไปถึง มะเขือเทศ และพริกหยวกก็เป็นทางเลือกที่ดี การรับประทาน ปลาที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูงก็เป็นทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพเช่นกัน หรือถั่วที่อุดมด้วยแคลเซียม เม็ดอัลมอนด์ และผักใบเขียว อาหารเหล่านี้มีสารประกอบที่ต่อสู้กับการอักเสบ สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือนได้
แต่อย่างไรก็ตามทางที่ดีที่สุดควรรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพตลอดทั้งปี ไม่ใช่แค่สองสามวันต่อเดือนในช่วงเวลามีประจำเดือน
นิสัยการรับประทานอาหารและการใช้ชีวิตของคุณสามารถช่วยบรรเทาหรือทำให้อาการปวดท้องเมนส์ระหว่างช่วงประจำเดือนเลวร้ายลงได้ หากคุณรู้สึกไม่สบายในช่วงการมีประจำเดือน
ผู้หญิงบางคนพบว่าการหลีกเลี่ยงอาหารบางชนิดมีประโยชน์ เช่น งดอาหารที่ขัดสี เช่น น้ำตาล ขนมปัง และพาสต้า หลีกเลี่ยงกรดไขมันทรานส์ที่พบได้บ่อยในอาหาร เช่น เฟรนช์ฟราย คุกกี้ แครกเกอร์ และมาการีน งดแอลกอฮอล์ และคาเฟอีน สิ่งเหล่านี้อาจเพิ่มการอักเสบและอาจกระตุ้นให้เกิดอาการปวดท้องเมนส์มากขึ้นได้ มีหลักฐานบางอย่างที่แสดงให้เห็นว่าการลดปริมาณไขมันที่เป็นอันตรายอาจช่วยบรรเทาช่วงเวลาที่ปวดได้
จิบชาคาโมมายล์ลดอาการปวดท้องเมน
การจิบชาคาโมมายล์อาจช่วยลดอาการปวดท้องเมนส์เมื่อคุณมีประจำเดือนได้ ชาคาโมมายล์เต็มไปด้วยสารต้านการอักเสบที่ยับยั้งพรอสตาแกลนดิน (Prostaglandins) ที่ถูกสร้างขึ้นโดยเซลล์ในเยื่อบุโพรงมดลูกของมดลูก เซลล์เหล่านี้จะหลั่งสารพรอสตาแกลนดิน กระตุ้นให้กล้ามเนื้อมดลูกหดตัว ทำให้คุณรู้สึกปวดเกร็ง พรอสตาแกลนดินในกระแสเลือดทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย และปวดศีรษะในช่วงมีประจำเดือน การจิบชาคาโมมายล์จะช่วยยับยั้งพรอสตาแกลนดินที่ก่อให้เกิดความปวด
การจิบชาคาโมมายล์จะช่วยยับยั้งพรอสตาแกลนดินที่ก่อให้เกิดความปวดท้องเมนได้
สารสกัดจากยี่หร่าลดอาการปวดท้องเมน
ยี่หร่า ในการศึกษาหนึ่งพบว่า ประมาณ 80% ของหญิงสาวที่รับประทานแคปซูลที่มีสารสกัดจากยี่หร่า 30 มิลลิกรัม 4 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 3 วันก่อนเริ่มมีประจำเดือน พบว่ามีอาการปวดท้องเมนน้อยกว่าผู้ที่ได้รับยาหลอก นักวิจัยเชื่อว่าเม็ดยี่หร่ายับยั้งการหดตัวของมดลูกที่ถูกกระตุ้นโดยพรอสตาแกลนดิน สารสกัดจากยี่หร่าอาจเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้หญิงที่ไม่สามารถทำกิจกรรมตามปกติได้ในช่วงเวลา 1- 3 วันในช่วงที่มีประจำเดือนเนื่องจากมีอาการปวดท้องเมนอย่างรุนแรง
อบเชยบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือน
ลองโรยอบเชยบนซีเรียลหรือโกโก้ร้อนสักถ้วย ในการศึกษาของผู้หญิง ผู้ที่รับประทานแคปซูลที่มีอบเชย 420 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้งในช่วง 3 วันแรกของรอบเดือนจะมีเลือดประจำเดือนน้อยลง ปวดท้องเมนส์น้อยลง และมีอาการคลื่นไส้และความถี่ในการอาเจียนลดลงเมื่อเทียบกับผู้ที่รับประทาน ยาหลอก
ขิงลดอาการปวดท้องเมนส์มากๆได้
ขิง การศึกษาพบว่าแคปซูลขิงบรรเทาอาการของประจำเดือนไม่ปกติ รวมทั้งช่วงเวลาที่ปวดท้องเมนด้วย ผู้หญิงในกลุ่มที่รับประทานขิง รับประทานขิงแคปซูล 250 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้งในช่วง 3 วันแรกของรอบเดือน ผู้หญิงในกลุ่มกรดเมฟานามิก (Mefanamic acid) รับประทานแคปซูล 250 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง ส่วนกลุ่มที่ได้รับยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) 400 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง ผู้หญิงในกลุ่มการรักษาทั้ง 3 กลุ่มรายงานการบรรเทาอาการปวดท้องเมนส์ที่คล้ายคลึงกัน ความพึงพอใจต่อการรักษา และความรุนแรงของประจำเดือนที่ลดลง ไม่มีคนใดในการศึกษารายงานผลข้างเคียงที่รุนแรงกับการรักษาใดๆ ดังนั้นอาจลองรับประทานขิงเล็กน้อย หากต้องการทางเลือกเพื่อบรรเทาอาการปวดประจำเดือน
ขิงทางเลือกเพื่อบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือน
พิโนจินอล (Pycnogenol) เป็นสารสกัดจากพืชที่ได้จากต้นสนทะเล
พิโนจินอล (Pycnogenol) เป็นสารสกัดจากพืชที่ได้จากต้นสนทะเลที่พบในภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส สารสกัดประกอบด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่มีศักยภาพหลายชนิด ในการศึกษาหนึ่งในผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 18- 48 ปี ผู้ที่มีอาการปวดท้องเมนส์มากกว่าปกติ รับประทานอาหารเสริมที่มีพิโนจินอล 60 มิลลิกรัม ในช่วงเวลาที่มีประจำเดือน พบว่ามีอาการปวดน้อยลงอย่างมีนัยสำคัญ และต้องการยาแก้ปวดน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับเมื่อไม่ได้ทานอาหารเสริม
ผักชีฝรั่ง (Dill)
ผักชีฝรั่ง (Dill) มีนักวิจัยทดสอบประสิทธิภาพของผงผักชีฝรั่งกับกรดเมเฟนามิก (Mefanamic acid) ในการรักษาอาการปวดประจำเดือนในกลุ่มนักเรียนหญิง ผู้หญิงแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มรับประทานผักชีฝรั่ง กลุ่มกรดเมเฟนามิก และกลุ่มยาหลอก โดยเริ่มการรักษา 2 วันก่อนเริ่มมีประจำเดือน เป็นระยะเวลา 5 วัน นักวิจัยพบว่าผงผักชีฝรั่งช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้
เคอร์คูมิน (Curcumin) ซึ่งเป็นส่วนผสมในขมิ้น
เคอร์คูมิน (Curcumin) ซึ่งเป็นส่วนผสมในขมิ้น อาจช่วยบรรเทาอาการปวดท้องเมนได้ ผู้หญิงที่รับประทานเคอร์คูมิน 2 แคปซูลต่อวันเป็นเวลา 7 วันก่อนมีประจำเดือนและ 3 วันหลังจากมีประจำเดือนเริ่ม มีอาการปวดท้องเมนลดลงเมื่อเทียบกับผู้หญิงที่กินยาหลอก นักวิทยาศาสตร์คิดว่าสารที่เป็นประโยชน์ในการต่อสู้กับการอักเสบและเปลี่ยนแปลงระดับสารสื่อประสาท คือเคอร์คูมิน ซึ่งทั้งหมดนี้อาจมีหน้าที่ในการลดอาการปวดท้องเมนส์ได้ นอกจากนี้เคอร์คูมินอาจมีประโยชน์สำหรับผู้ที่มีภาวะอักเสบ เช่น โรคข้ออักเสบ ลำไส้แปรปรวน โรคลำไส้อักเสบ โรคภูมิต้านตนเอง เป็นต้น
วิธีแก้ปวดท้องเมนง่ายด้วยขมิ้นที่มีสารสกัดเคอร์คูมิน
น้ำมันปลาและวิตามิน บี 1
น้ำมันปลา (Fish oil) สามารถบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้ มีนักวิจัยศึกษาผลของวิตามินบี 1 และน้ำมันปลาต่ออาการประจำเดือนผิดปกติในนักเรียนมัธยมปลาย ผู้หญิงถูกแยกออกเป็น 4 กลุ่มที่แตกต่างกัน กลุ่มหนึ่งได้รับวิตามินบี 1 100 มิลลิกรัมต่อวัน อีกกลุ่มหนึ่งใช้น้ำมันปลา 500 มิลลิกรัมต่อวัน กลุ่มหนึ่งรับประทานวิตามินบี 1 และน้ำมันปลาร่วมกันทุกวัน กลุ่มสุดท้ายได้รับยาหลอก โดยผู้หญิงเข้ารับการรักษาในช่วงเริ่มต้นของรอบเดือนและดำเนินต่อไปเป็นเวลา 2 เดือน เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก ผู้ที่ทานวิตามินบี 1 น้ำมันปลา หรือทั้งสองอย่างมีอาการปวดท้อเงมนส์น้อยกว่าอย่างเห็นได้นอกจากนี้ยังพบว่ามีอาการปวดท้องเมนไม่นานเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอกอีกด้วย
วิตามินดี
อาการปวดท้องเมนเกิดขึ้นเนื่องจากระดับ Prostaglandins ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้มดลูกหดตัว การหดตัวเหล่านี้ทำให้เกิดการหลั่งของเยื่อบุโพรงมดลูก โดยวิตามินดีช่วยลดการผลิตพรอสตาแกลนดินได้ ในการศึกษาหนึ่งของผู้หญิงที่มีประจำเดือนครั้งแรกและมีระดับวิตามินดีต่ำ การให้วิตามินดีเสริมในปริมาณสูงทุกสัปดาห์ช่วยลดความรุนแรงของความเจ็บปวดลงอย่างมีนัยสำคัญทั้ง 8 สัปดาห์ของการรักษาและ 1 เดือนหลังจากสิ้นสุดการรักษา นอกจากนี้ผู้หญิงที่ทานวิตามินดียังใช้ยาแก้ปวดน้อยลงเพื่อรักษาอาการปวดท้องประจำเดือนอีกด้วย
แคลเซียม
แคลเซียมเป็นสารอาหารที่ทุกคนต้องการ แต่ผู้หญิงมักได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ เนื่องจากแคลเซียมไม่เพียงแต่เพื่อกระดูกที่แข็งแรง แต่ยังใช้สำหรับการทำงานที่เหมาะสมของหัวใจ กล้ามเนื้อ และระบบประสาท ปริมาณแคลเซียมที่เพียงพออาจช่วยบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือนได้ ในการศึกษา ผู้ที่รับประทานอาหารเสริมที่มีแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน โดยเริ่มในวันที่ 15 ของรอบเดือน จนกว่าอาการปวดท้องเมนจะหยุดในรอบถัดไป จะมีอาการปวดประจำเดือนที่รุนแรงน้อยกว่าผู้ที่ได้รับยาหลอก ดังนั้นการเติมสารอาหารให้ร่างกายด้วยผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ ปลาซาร์ดีน และปลาแซลมอน และอาหารที่มีแคลเซียมสูงอื่นๆ จึงสำคัญ
เสริมด้วยแมกนีเซียม
แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุสำคัญที่ร่างกายต้องการเพื่อเป็นพลังงานให้กับระบบเอ็นไซม์มากกว่า 300 ระบบ ร่างกายจำเป็นต้องมีเพื่อสร้างกล้ามเนื้อ โปรตีน และกระดูกที่แข็งแรง ร่างกายต้องการแมกนีเซียมเพื่อการทำงานที่เหมาะสมของกล้ามเนื้อและเส้นประสาท เพื่อควบคุมความดันโลหิต และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และยังใช้เพื่อสร้าง DNA และ RNA และเพื่อผลิตกลูตาไธโอน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระหลักของร่างกาย นอกจากนี้แมกนีเซียมอาจช่วยบรรเทาอาการปวดท้องเมนส์ได้อีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรับประทานร่วมกับวิตามินบี 6 การศึกษาหนึ่งในผู้หญิงพบว่าผู้ที่รับประทานแมกนีเซียม 250 มิลลิกรัม และวิตามินบี 6 ขนาด 40 มิลลิกรัมต่อวันมีอาการปวดท้องเมนลดลง
เลี่ยงเลี่ยงคาเฟอีน
การจำกัดคาเฟอีนช่วยให้ผู้หญิงหลายคนบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือนได้ คาเฟอีนมีหลายรูปแบบ เช่นใน กาแฟ ชา ช็อคโกแลต และเครื่องดื่มชูกำลัง
การรับประทานกาแฟอาจช่วยบรรเทาอาการปวดท้องเมน เนื่องจากมีปริมาณคาเฟอีนสูง
ยาแก้ปวดท้องเมนส์ที่หาซื้อได้ง่ายๆ
อาการปวดท้องเมนส์เกิดขึ้นเนื่องจากการหดตัวของมดลูก สำหรับอาการปวดประจำเดือนอย่างรุนแรง คุณสามารถเลือกรับประทานยาแก้ปวดท้องเมนส์ที่มีขายตามร้านขายยาทั่วไป เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) และนาโพรเซน (Naproxen) สามารถลดอาการปวดท้องประจำเดือนได้ แต่อย่างไรก็ตามระวังการใช้ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) หากคุณมีปัญหาสุขภาพบางอย่าง เนื่องจากยาเหล่านี้อาจสามารถกระตุ้นให้เกิดแผลในทางเดินอาหารหรือทำให้ภาวะเลือดออกแย่ลงได้
ปวดท้องเมนส์มาก ทำไงดี จัดการได้ด้วยการดูแลที่บ้าน
แผ่นประคบร้อนแก้ปวดท้องเมนส์
การใช้แผ่นประคบร้อน หรือขวดน้ำร้อนที่หน้าท้องสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้ โดยคุณสามารถหาสินค้าเหล่านี้ได้ในร้านขายยาหรือทางออนไลน์ เนื่องจากความร้อนช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายลง
ออกกำลังกายหนึ่งในวิธีแก้ปวดท้องเมนส์
ผู้หญิงหลายคนพบว่าการออกกำลังกายช่วยบรรเทาอาการปวดท้องเมนได้ การออกกำลังกาย ร่างกายจะหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน (Endorphins) ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่ส่งเสริมให้รู้สึกผ่อนคลาย