ปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อย และเชื่อว่าเกือบทุกคนต้องเคยพบเจอ คือ อาการปวดหัว ตำแหน่งของการปวดหัวบางครั้งก็อาจช่วยบอกถึงสาเหตุของความผิดปกติได้อย่างคร่าวๆ ในส่วนของอาการปวดหัวข้างซ้ายเอง ก็มีหลายสาเหตุ แต่รู้หรือไม่ส่วนใหญ่ไม่ได้มีอันตรายรุนแรง และสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องรักษาอะไร

            อย่างไรก็ตาม หากเราทราบถึงสาเหตุของการปวดหัวข้างซ้าย ก็มีส่วนช่วยให้เราสามารถป้องกันไม่ให้อาการปวดหัวนั้นเกิดขึ้นซ้ำ หรือทำให้อาการรุนแรงน้อยลงได้ สำหรับบางกรณีที่มีอาการเรื้อรัง ปวดมากขึ้นเรื่อย หรือมีสัญญาณถึงความผิดปกติบางอย่างที่อาจรุนแรงก็แนะนำไปโรงพยาบาลเพื่อปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญต่อไป

ปวด หัว ข้าง ซ้าย จี๊ด ๆ

อาการปวดหัวข้างซ้าย เป็นอาการที่พบได้บ่อย เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ไมเกรน ปวดหัวแบบคลัสเตอร์ เป็นต้น

            อาการปวดหัวข้างซ้ายข้างเดียวเกิดขึ้นได้จากหลายๆ สาเหตุ เช่น ไมเกรน ปวดหัวจากความเครียด ปวดหัวแบบคลัสเตอร์ อาการเหล่านี้อาจรวมเรียกว่าปวดหัวแบบปฐมภูมิซึ่งไม่ได้มีอาการอันตรายต่อร่างกาย สำหรับสาเหตุที่อันตราย ได้แก่ เส้นเลือดในสมองแตก ก้อนเนื้อในสมอง การติดเชื้อในสมอง หรือการได้รับการกระทบกระแทกที่รุนแรง

ปวดหัวไมเกรน (Migraines)

            ปวดหัวข้างซ้าย สาเหตุที่อาจเป็นไปได้ คือ การปวดหัวจากไมเกรน อาการไมเกรนบ่อยครั้งมักมีอาการปวดหัวข้างเดียว พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ลักษณะปวดตุ๊บๆ ความรุนแรงมีตั้งแต่ปานกลางถึงมาก อาการปวดอาจเริ่มต้อนบริเวณรอบกระบอกตา หรือปวดขมับซ้ายก่อนก็ได้แล้วปวดร้าวไปบริเวณอื่นๆ ของศีรษะ

            นอกจากอาการปวดหัวข้างซ้าย ในภาวะนี้อาจพบความผิดปกติอื่นๆ ได้ เช่น คลื่นไส้อาเจียน เวียนศีรษะ ประสาทสัมผัสไวต่อเสียง กลิ่น แสง หรือการสัมผัส อาการชาตามใบหน้า ปลายมือปลายเท้า ระยะเวลาของอาการมีตั้งแต่ 4 ชั่วโมง ไปจนถึง 72 ชั่วโมง สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าอาจถูกกระตุ้นจากปัจจัยแวดล้อมบางอย่าง เช่น ความเครียด อาหารบางชนิด (สุรา ชีส ช็อกโกแลต) การนอนหลับมากเกินหรือน้อยเกิน เสียงดัง กลิ่นฉุนๆ ฯลฯ

ปวดหัวไมเกรน มักจะมีอาการปวดหัวข้างเดียวข้างซ้าย หรือขวาก็ได้ มีสิ่งกระตุ้นอาการที่หลากหลาย เช่น ได้ยินเสียงดังมากๆ แล้วทำให้เกิดอาการตามมา

ปวดหัวจากความเครียด

            ปวดหัวจากความเครียด หรือ Tension headaches เป็นสาเหตุที่พบมากทั่วโลก อาจมีอาการปวดหัวข้างเดียว เช่น การปวดหัวข้างซ้ายอย่างเดียวได้ แต่โดยส่วนมากมักเกิดอาการปวดหัวทั้ง 2 ข้าง หากปวดหัวข้างเดียวมักจะนึกถึงปัญหาเรื่องไมเกรนก่อน โดยหากเปรียบเทียบความรุนแรงของทั้ง 2 สาเหตุนี้ ปวดหัวจากความเครียดมักจะมีอาการรุนแรงน้อยกว่าอาการปวดหัวไมเกรน

            ลักษณะอาการปวด จะมีลักษณะคล้ายเหมือนมีอะไรมาบีบรัดที่ศีรษะ อาจเริ่มต้อนที่กระบอกตาและร้าวไปหน้าผากจนถึงด้านหลังศีรษะได้ หรือบางครั้งจะมีอาการปวดตึงไปที่กล้ามเนื้อคอ และกล้ามเนื้อไหล่ อาการปวดมักจะเป็นช่วงบ่ายๆ เย็นๆ

            สาเหตุมักเกิดจากกล้ามเนื้อรอบศีรษะมีการเกร็งตัว ซึ่งอาจถูกกระตุ้นจากความเครียด ท่าทางการใช้ชีวิตประจำวันที่ผิด การพิมพ์งาน ดูจอมือถือที่มากเกินไป หรืออาจเกิดจากการเคยมีประวัติกระทบกระแทกที่บริเวณคอ

ปวด เบ้าตา ซ้าย

ปวดหัวจากความเครียด มักเจอในผู้ใหญ่วัยทำงาน การหักโหมทำงาน หรือท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสม มีส่วนกระตุ้นให้เกิดอาการดังกล่าวได้

ปวดหัวแบบคลัสเตอร์

            ปวดหัวแบบคลัสเตอร์ หรือ Cluster headaches เป็นอีกสาเหตุของอาการปวดหัวข้างซ้าย อาการปวดจากสาเหตุนี้จะมีอาการปวดที่รุนแรงมาก ตำแหน่งที่ปวดมักเป็นปวดหัวข้างเดียว ปวดบริเวณลูกตา ขมับ หน้าผากข้างเดียวกัน 1 ข้าง ปวดมากขึ้นเรื่อย โดยช่วงที่ปวดมากที่สุดที่ประมาณ 5-10 นาทีหลังมีอาการ ระยะเวลา 30-60 นาที และอาจมีอาการต่อเนื่องได้ถึง 3 ชั่วโมง

            อาการอื่นๆ ที่พบร่วมด้วย ได้แก่ คัดจมูก น้ำมูกไหล น้ำตาไหล ตาแดง ตาบวม หน้าแดง เหงื่อออกที่ใบหน้า สาเหตุของโรคชนิดนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่ามีความเชื่อมโยงกับส่วนของไฮโปทาลามัสในสมอง

            อาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์บ่อยครั้งมักเกิดขึ้นในเวลาเดิมๆ ทุกวัน อาจกินเวลายาวนาน 4-12 สัปดาห์ โดยมักเกิดในช่วงที่อาการชื้นๆ ซึ่งอาจทำให้สับสนกับการปวดศีรษะจากภูมิแพ้      

ปวด หัว ข้าง ซ้าย หลัง หู

หากลักษณะอาการปวดหัวด้านซ้ายมีความรุนแรงมาก มีปวดกระบอกตา ตาแดง น้ำตาไหลร่วมด้วย อาจสามารถทำให้นึกถึงอาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์ได้

ปวดหัวข้างซ้ายจากสาเหตุทุติยภูมิ

            ในบางครั้งการปวดหัวข้างซ้ายอาจมีสาเหตุบางอย่างที่อันตรายกว่าสาเหตุที่กล่าวไปด้านบน ได้แก่ การบาดเจ็บของเนื้อสมอง มีรอยโรคในเนื้อสมอง เช่น ก้อนเนื้อ การติดเชื้อ หรือภาวะที่หลอดเลือดในสมองมีความผิดปกติ นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ มีเกี่ยวข้องได้ เช่น ปัญหาช่องปาก โพรงไซนัสอักเสบ หรือการใช้ยาแก้ปวดที่มากเกินไป

ปวดหัวแบบทุติยภูมิ ค่อนข้างน่ากังวล เนื่องจากอาจเกี่ยวกับกับระบบหลอดเลือดในสมองได้

เมื่อไรที่ควรไปพบแพทย์

            อาการปวดหัวข้างซ้ายส่วนมากมักไม่ได้มีความอันตรายรุนแรงต่อร่างกาย แต่ก็มีสัญญาณบางอย่างที่เป็นข้อพึงระวังว่าอาการปวดหัวนี้ควรต้องหาสาเหตุ และได้รับการแก้ไข เช่น มีความผิดปกติทางระบบประสาทอื่นๆ ร่วมด้วย มีการมองเห็นผิดปกติไป ไข้สูง เหงื่อออกมากผิดปกติ

            สิ่งสำคัญที่อาจบ่งบอกว่ามีอาจมีความผิดปกติแบบทุติยภูมิ ได้แก่

  1. อาการปวดที่เกิดเป็นครั้งแรกที่อายุมากกว่า 50 ปี
  2. ลักษณะอาการปวดที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
  3. อาการปวดที่เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ
  4. อาการปวดหัวที่รุนแรงที่สุดในชีวิต
  5. มีพฤติกรรม/บุคลิกภาพเปลี่ยนไปจากปกติ
  6. อาการปวดศีรษะหลังถูกกระทบกระแทก
  7. ปวดหัวมากจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน

            นอกจากนี้ หากมีอาการที่ไม่แน่ใจ หรือมีโรคประจำตัวอื่นๆ เช่น โรคเกี่ยวกับหลอดเลือด โรคมะเร็ง ก็ควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลถึงอาการเหล่านี้ว่าอาจมีความเกี่ยวข้องกับอาการปวดหัวของเราหรือไม่

หากอาการปวดศีรษะมีอาการรุนแรงเฉียบพลัน คล้ายโดนฟ้าผ่ากลางศีรษะ (Thunderclap headache) แม้อาจอาการรุนแรงชั่วคราว ก็ควรรีบไปโรงพยาบาลเพื่อหาสาเหตุต่อไป

ปวดหัวข้างซ้าย วิธีแก้ และการป้องกัน

            อาการปวดหัวข้างซ้ายส่วนใหญ่สามารถรักษาได้ด้วยยาบรรเทาอาการปวด เช่น ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) หรือยาต้านอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDS) หากทานแล้วไม่บรรเทาตามฤทธิ์ยาก็อาจพิจารณาใช้ยาอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาฉีด หรือหากปวดหัวแบบคลัสเตอร์ก็อาจใช้ออกซิเจนในการรักษา

            ดังที่กล่าวไปว่าอาการปวดหัวข้องซ้ายมักเกิดจากสาเหตุแบบปฐมภูมิ ซึ่งวิธีแก้ไข ป้องกันที่สามารถช่วยได้ดี คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเราเอง เช่น

            – หาเทคนิคการผ่อนคลายอารมณ์ ได้แก่ การฝึกโยคะ ฝึกสมาธิ จะช่วยให้เราผ่อนคลายและป้องกันการปวดหัวจากความเครียดได้

            – การหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นบางอย่าง หากเราเป็นไมเกรน และพบว่าการดื่มกาแฟ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือการรับประทานอาหารที่มีชีสเป็นส่วนประกอบแล้วทำให้เกิดการปวดหัว ก็แนะนำให้พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านั้น

ปวด หัว ข้าง ซ้าย วิธี แก้

ยาแก้ปวดทั่วไป ถือเป็นยารักษาที่มีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการปวดหัวข้างซ้ายแบบชนิดปฐมภูมิระยะเฉียบพลัน

บทสรุปอาการปวดหัวข้างซ้าย

            อาการปวดหัวเป็นอาการที่พบได้ในทุกๆ คน ส่วนมากไม่ได้มีอันตรายต่อชีวิต สามารถหายได้เอง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต และการรับประทานยาแก้ปวด ถือเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่ดีที่จะแก้ไข และป้องกันอาการปวดศีรษะ อย่างไรก็ตามหากไม่ดีขึ้น มีอาการบ่อยๆ ก็จะปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางแก้ไข หรือถ้าอาการปวดหัวมีความผิดปกติทางระบบประสาทอื่นร่วมด้วย ก็ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ และรักษาอย่างถูกต้อง

การฝึกสมาธิ การหากิจกรรมผ่อนคลายร่างกาย มีส่วนช่วยป้องกันไม่ให้อาการปวดหัวข้างซ้ายกลับมาเป็นซ้ำได้