ภูมิแพ้ผิวหนังเกิดขึ้นเมื่อร่างกายของคุณสัมผัสกับบางสิ่งที่อาจทำให้เกิดการแพ้ โดยการทำงานระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ในชีวิตประจำวันโดยทั่วไป คุณจำเป็นต้องเจอ หรือได้รับสารเคมีต่างๆหลากหลายชนิด สารบางชนิดอาจกระตุ้นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของบางคน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วสารดังกล่าวอาจไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายของส่วนใหญ่ก็ตาม สารเหล่านี้เรียกว่าสารก่อภูมิแพ้ เมื่อร่างกายของคุณตอบสนองต่อสิ่งเหล่านี้ จะทำให้เกิดอาการแพ้ เป็นภูมิแพ้ผิวหนังได้

          อาการแพ้อาจมีได้หลายรูปแบบ บางคนมีอาการหายใจลำบาก ไอ แสบตา และน้ำมูกไหลเมื่อมีอาการแพ้ และอาการแพ้อื่นๆ ก็ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในผิวหนัง ที่เรียกว่าภูมิแพ้ผิวหนังได้

          อาการของภูมิแพ้ผิวหนังคือจะเป็นผื่นที่ผิวหนังซึ่งเกิดขึ้นเมื่อคุณสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ ภาวะนี้มักเกิดขึ้นหลังจากที่คุณได้สัมผัสกับสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ เป็นระยะเวลาทันทีที่สัมผัส จนไปถึงหลายชั่วโมง

ผื่นแพ้

ตัวอย่างของโรคภูมิแพ้ผิวหนัง จะมีผื่นขึ้นตามร่างกายเฉพาะบริเวณที่สัมผัสสารก่อการแพ้ หรืออาจเกิดทั่วร่างกาย

          ตัวอย่างของสารเคมีบางอย่างที่มักก่อให้เกิดภูมิแพ้ผิวหนัง ได้แก่

  • นิกเกิล ซึ่งพบได้ในเครื่องประดับ หัวเข็มขัด และกระดุมโลหะบนกางเกง
  • น้ำหอม ที่พบในเครื่องสำอาง
  • สีย้อมเสื้อผ้า
  • น้ำยาง
  • กาว
  • สบู่และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
  • พืชไม้เลื้อยที่มีพิษและพืชอื่นๆ
  • ครีมหรือขี้ผึ้งที่ใช้กับผิวหนัง
  • ครีมกันแดด
  • แสงแดด

          อาการของผื่นภูมิแพ้ที่เกิดขึ้นนี้อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล นอกจากนี้ยังอาจเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาผ่านไป อาการมักเกิดขึ้นเมื่อสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ ในบางกรณีซึ่งพบไม่บ่อย อาการอาจแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย

อาการทั่วไป ได้แก่

  • อาการคัน
  • รู้สึกแสบร้อนหรือปวด
  • ตุ่มแดง อักเสบมีน้ำ
  • เป็นสะเก็ด หรือผิวหนาขึ้น
  • ผิวแห้ง แดง หรือผิวหยาบกร้าน
  • การอักเสบ
เป็น ภูมิแพ้

อาการคันเป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุด

แล้วเมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์

  • อึดอัดไม่สบายผิวหนัง จนส่งผลต่อการนอนและกิจกรรมประจำวัน
  • มีการติดเชื้อที่ผิวหนัง มองหารอยแดง, หนอง, สะเก็ดเหลือง
  • ยังคงมีอาการอยู่ แม้จะพยายามรักษาที่บ้านมาแล้ว
  • ควรไปพบแพทย์ทันที หากผื่นดูเหมือนติดเชื้อและมีไข้

ปกติแล้วแพทย์วินิจฉัยโรคภูมิแพ้ผิวหนังอย่างไร

          แพทย์จะตรวจผิวหนังของคุณก่อนเพื่อตรวจสอบว่าคุณมีโรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้และอาจต้องทำการทดสอบเพิ่มเติมเพื่อค้นหาว่าคุณแพ้อะไร

การทดสอบแพทช์ (Patch test)

          ในระหว่างการทดสอบนี้ แพทย์จะแปะแผ่นแปะที่มีสารก่อภูมิแพ้ทั่วไปติดไว้ที่หลังของคุณ เป็นเวลา 48 ชั่วโมง หลังจากถอดแผ่นแปะออก พวกเขาจะตรวจหาอาการแพ้ โดยแพทย์จะตรวจผิวหนังในทันทีและหลังจากผ่านไปอีก 2 วันเพื่อดูว่าคุณมีอาการแพ้ที่ล่าช้าหรือไม่

การตรวจชิ้นเนื้อ (Biopsy)

          จำเป็นต้องมีการทดสอบนี้ หากแพทย์ไม่สามารถทำการวินิจฉัยตามการทดสอบแพตช์ได้ แพทย์จะทำการตรวจชิ้นเนื้อที่ผิวหนังโดยส่งไปที่ห้องปฏิบัติการเพื่อทำการทดสอบต่อไป

ภูมิแพ้ผิวหนังรักษาได้

          การรักษาภูมิแพ้ผิวหนัง ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการของคุณ อย่างไรก็ตาม ในทุกกรณี สิ่งสำคัญคือต้องล้างทำความสะอาดผิวที่ได้รับผลกระทบจากสารก่อภูมิแพ้ด้วยน้ำปริมาณมากเพื่อขจัดร่องรอยของสารก่อภูมิแพ้

          โดยคุณอาจไม่ต้องการการรักษาเพิ่มเติมหากอาการของคุณไม่รุนแรงและไม่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันคุณ อย่างไรก็ตาม อาจต้องใช้ครีมให้ความชุ่มชื้นเพื่อให้ผิวชุ่มชื้นและซ่อมแซมความเสียหาย ครีมคอร์ติโคสเตียรอยด์อาจสามารถช่วยลดมีอาการคันและอักเสบได้ แต่ต้องใช้ในการดูแลของแพทย์ และอาจสั่งยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดรับประทานให้หากจำเป็น

ตัวอย่างของยาที่ช่วยลดภูมิแพ้ผิวหนัง ได้แก่

  • ครีมทาผิว
  • สเตียรอยด์เฉพาะที่
  • ยาปฏิชีวนะเฉพาะที่หรือรับประทาน สำหรับการติดเชื้อทุติยภูมิ
  • ยาสเตียรอยด์สำหรับรับประทาน โดยมักใช้เป็นระยะสั้น สำหรับกรณีรุนแรง
  • เคมีบำบัดด้วยแสง
  • สารกดภูมิคุ้มกันอื่น ๆ
  • ครีมทาโครลิมัสและครีมพิเมโครลิมัสเป็นสารยับยั้ง Calcineurin ที่ปรับภูมิคุ้มกันและอาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นประโยชน์สำหรับโรคผิวหนังอักเสบจากการสัมผัสที่เกิดจากการแพ้
รักษา ภูมิแพ้

ยาทาเช่น ยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ สามารถช่วยบรรเทาอาการแพ้ได้ แต่ควรใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์

เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดโรค จะมีการป้องกันภูมิแพ้ผิวหนังได้อย่างไร

  • หลีกเลี่ยงสารระคายเคืองและสารก่อภูมิแพ้ พยายามระบุและหลีกเลี่ยงสารที่ระคายเคืองผิวหรือทำให้เกิดอาการแพ้
  • ล้างทำความะอาดผิว คุณอาจสามารถขจัดสารที่ก่อให้เกิดผื่นส่วนใหญ่ออกได้หากคุณล้างผิวหนังทันทีหลังจากสัมผัสสารนั้น ใช้สบู่อ่อนๆ ปราศจากน้ำหอมและน้ำอุ่น ล้างออกให้หมด ซักเสื้อผ้าหรือสิ่งของอื่นๆ ที่อาจสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้
  • สวมชุดป้องกันหรือถุงมือ หน้ากากอนามัย แว่นตา ถุงมือ และอุปกรณ์ป้องกันอื่นๆ สามารถป้องกันคุณจากสารระคายเคือง รวมทั้งน้ำยาทำความสะอาดในครัวเรือน
  • ใช้แผ่นแปะ รีดเพื่อปิดรัดโลหะที่อยู่ติดกับผิวหนังของคุณ วิธีนี้จะช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงปฏิกิริยาการแพ้ที่อาจเกิดขึ้นได้
  • ทาครีมหรือเจล ผลิตภัณฑ์เหล่านี้สามารถให้ชั้นปกป้องผิวของคุณได้ ตัวอย่างเช่น ครีมบำรุงผิวที่อาจป้องกันหรือลดปฏิกิริยาของผิวหนังต่อพิษ
  • ใช้มอยเจอร์ไรเซอร์ การใช้โลชั่นให้ความชุ่มชื้นเป็นประจำจะช่วยฟื้นฟูชั้นนอกสุดของผิวและทำให้ผิวของคุณอ่อนนุ่ม

การใช้ผลิตภัณฑ์มอยเจอร์ไรเซอร์ หรือโลชั่นให้ความชุ่มชื้นเป็นประจำ สามารถช่วยปกป้องชั้นผิวได้

  • ภูมิแพ้ผิวหนัง ห้ามกินอะไรหรือไม่ จริงๆแล้วคุณควรทราบก่อนว่าการแพ้ของคุณเกิดจากสาเหตุอะไร ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจทำให้เกิดการแพ้

          โรคภูมิแพ้ผิวหนังมีผลกระทบอย่างมากต่อคุณภาพชีวิตทั้งกับผู่ป่วยเอง และกับครอบครัวและเพื่อน อาการคันซึ่งเป็นอาการหลักของผื่นแพ้นี้ สามารถทำให้ขาดสมาธิในการทำกิจวัตรประจำวัน การเรียน รวมไปถึงการทำงาน การนอนหลับไม่ดีทำให้เกิดอาการอื่นๆตามมาได้อีก นอกจากนี้การรักษาก็ยังต้องเสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายอีกด้วย ดังนั้นหากคุณสามารถทราบถึงสาเหตุหรือต้นตอของสารที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ผิวหนัง การหลีกเลี่ยงจึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่จะช่วยป้องกันโรคนี้ได้

บทความอ้างอิง

  • Guidelines for care of Contact Dermatitis (J Bourke, I Coulson, J English) BJD, Vol. 160, No. 5, May 2009 (p946–54) — British Association of Dermatologists
  • Yiannias, J. Clinical features and diagnosis of allergic contact dermatitis. In: UpToDate, Fowler J (Ed). (Accessed on September 27, 2016.)
  • Gaspari, A. Basic mechanisms and pathophysiology of allergic contact dermatitis. In: UpToDate, Fowler J (Ed). (Accessed on September 27, 2016.)